วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

“กระดังงาแดง” สวยแปลก ( 5 ก.พ. 52 )


ไม้ต้นนี้ เป็นไม้ในตระกูลกระดังงา ถูกค้นพบในป่าบนเขาใหญ่นานหลายปีแล้วและผู้ค้นพบได้นำเอาเมล็ดไปทดลองเพาะ ขยายพันธุ์ในพื้นที่ราบ ปรากฏว่าสามารถเติบโตได้ดีและมีดอกสีสันงดงาม ดอกมีขนาดใหญ่น่าชมเหมือนแตกต้นในป่าธรรมชาติจึงนำดอกและรูปถ่ายของดอกไปสอบ ถามผู้รู้ระดับเซียนเกี่ยวกับไม้ในสกุลกระดังงา แต่ทุกคนต่างบอกว่า ไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่ทราบชื่อ เลยเรียกกันว่า “กระดังงาแดง” ดังกล่าว พร้อมกับขยายพันธุ์ตอนกิ่งเพิ่มจำนวนออกจำหน่ายให้ผู้ชื่นชอบซื้อหาไปปลูกประดับเมื่อไม่นานมานี้ และมีผู้สนใจกันมากมาย

กระดังงาแดง เป็นไม้ป่าไทย พบขึ้นบนเขาใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น ลักษณะเป็นไม้กึ่งเลื้อยสูงหรือยาวได้กว่า 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน ใบมีขนาดใหญ่ เนื้อใบหนา ด้านหน้าสีเขียวสด เป็นมัน ด้านล่างสีเขียวหม่น ใบดกมาก

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3-5 ดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปกรวยสั้น กลีบดอก 3 กลีบ เป็นรูปหัวใจคล้ายกลีบดอกลำดวน เนื้อกลีบหนาแข็ง ใจกลางดอกมีกลีบชั้นในเป็นรูปทรงกลมเนื้อกลีบหนากว่ากลีบชั้นนอก เรียงกันเป็นระเบียบคล้ายเส้า 3 ก้อน ตั้งสูงเหนือกลีบดอก ดอกโดยรวมเป็นสีชมพูปนแดง หรือ สีแดง โคนกลีบดอกเป็นสีแดงเลือดนกชัดเจน จึงถูกตั้งชื่อว่า “กระดังงาแดง” ตามสายพันธุ์และสี เวลามีดอกสวยงามมาก


ผล รูปกลมรี ติดผลเป็นช่อ 20-30 ผล ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนคล้ายผลองุ่นเขียว เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดง หรือสีส้ม ภายในมีเมล็ด ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปัจจุบัน “กระดังงาแดง” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 9 แผง “คุณมนูญ” มีทั้งต้นเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ราคาสอบถามกันเอง

การปลูก เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้าน ปลูกประดับตามสวนสาธารณะและปลูกตามสำนักงานต่างๆ เป็นไม้รากหยั่ง ชอบแดดไม่ชอบน้ำท่วมขัง หลังปลูกในช่วงแรกรดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง บำรุงปุ๋ยจำพวกขี้วัวหรือขี้ควายแห้งโรยกลบฝังดินรอบโคนต้น 2 เดือนครั้ง สลับกับใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เดือนละครั้ง เมื่อต้นตั้งตัวได้จนมียอดใหม่แตกให้เห็นสามารถปล่อยให้เทวดาเลี้ยงได้ ต้นสูง 3 เมตร จะเริ่ม ติดดอกชุดแรกและมีดอกเรื่อยๆ ไม่ขาดต้นดูสวยงามน่ารักมากครับ.

“นายเกษตร”

“มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” หวานจัดอร่อย ( 6 ก.พ. 52 )


มะม่วง ที่ถือว่ามีความหวานเป็นที่สุด ได้แก่ มะม่วงน้ำตาลเตา ส่วน “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความหวานจัดเป็นรองมะม่วงน้ำตาลเตาเล็กน้อย แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของ “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” นั้น คือ กลิ่นหอมและรสชาติจะเป็นมะม่วงอกร่องอย่างชัดเจน ใครได้กินแบบไม่เห็นผลจะรู้ได้โดยธรรมชาติเลยว่าคือเนื้อมะม่วงอกร่องที่ คุ้นเคยและนิยมรับประทานกันมาช้านาน

มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ เป็นมะม่วงอกร่องกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ดของมะม่วงอกร่อง พันธุ์ดั้งเดิม เมื่อแตกต้นนำไปปลูกจนติดผลแล้วมีความแตกต่างจากพันธุ์ดั้งเดิมคือ รูปทรงของผลจะมีขนาดใหญ่ เมล็ดลีบ เนื้อเยอะ และที่ถือว่าเป็นสุดยอดได้แก่ รสชาติผลสุกจะหวานจัดกว่ามะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิมเยอะ เจ้าของผู้ขยายพันธุ์จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” โดย มีแหล่งปลูกอยู่ย่านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. และได้ตอนกิ่งหรือทาบกิ่งออกจำหน่าย ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกแพร่หลายในปัจจุบัน

มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-20 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับเป็นคู่ๆ หนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบมีขนาดใหญ่และยาวกว่าใบมะม่วงอกร่องทั่วไป สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” เป็น รูปกลมรี มีลักษณะเป็นรูปทรงของมะม่วงอกร่องชัดเจน แต่ผลจะใหญ่กว่า เนื้อเยอะ เมล็ดลีบ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ผลสุกเนื้อในเหนียวไม่เละ รสหวานจัดประมาณ 24 องศาบริกซ์ ซึ่งหวานน้อยกว่ามะม่วงน้ำตาลเตาเล็กน้อย (มะม่วงน้ำตาลเตาประมาณ 27-28 องศาบริกซ์) ผลโตเต็มที่ของ “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” 4 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม เวลาติดผลเป็นพวง 5-6 ผล ต่อพวง และติดผลดกมาก มีผลเพียงปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและทาบกิ่ง

ปัจจุบัน “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” มี ต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “นายดาบสมพร” ราคาสอบ ถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกจำนวนหลายๆ ต้น เพื่อเก็บผลขาย หลังปลูกดูแลรดน้ำบำรุงปุ๋ยพร้อมตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ เวลาติดผลดกเต็มต้น จะคุ้มค่ามากครับ.

“นายเกษตร”

“ถั่วเขียว” แก้เข่าเสื่อม ( 10 ก.พ. 52 )


อาการ ของโรคเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ เมื่อเป็นแล้วจะปวดตามข้อเข่าทำให้เดิน เหินลำบาก บางคนเป็นถึงขนาดเดินไม่ได้ก็มี ต้องไป พบแพทย์กระดูกรักษาจึงจะหายหรืออาการดีขึ้น ซึ่งในทางสมุนไพรมีสูตรแก้โรคเข่าเสื่อม หรือ รักษา อาการโรคเข่าเสื่อมได้ ให้เอา “ถั่วเขียว” กะจำนวนตามต้องการต้มกับน้ำซาวข้าวน้ำที่ 2 เพราะน้ำแรกจะสกปรก กะจำนวนน้ำตามต้องการเช่นกัน ต้มจนเดือด ดื่มกินทั้งน้ำและเนื้อครั้งละครึ่งแก้วก่อนอาหารเช้ากลางวันเย็น ต้มกิน 10 วัน อาการจะไม่ปวด เดินเหินได้สะดวกขึ้น สามารถต้มกินได้เรื่อยๆ ไม่มีอันตรายใดๆ

ถั่วเขียว หรือ GREEN BEAN มีถิ่น กำเนิดจากประเทศอินเดีย อยู่ในวงศ์ PAPILIONOIDEAE มีสรรพคุณทางโภชนาการ กินต้ม “ถั่วเขียว” ในช่วงฤดูร้อนจะช่วยลดอาการเมาแดด ปวดบวม ฝี ตุ่มหนองได้ นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า ยังช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงตับ ต้านภูมิแพ้ด้วย

อย่างไรก็ตาม “ถั่วเขียว” มีฤทธิ์เย็น คนที่มีธาตุเย็น หรือมีร่างกายอ่อนแอไม่ควรรับประทานมากเกินไป ซึ่ง “ถั่วเขียว” มีขายตามตลาดสดทั่วไป หาซื้อได้ง่าย และสูตรทำก็ง่ายทดลองทำดู ถ้าถูก โฉลกโรคเข่าเสื่อมหายได้ถือว่าโชคดีที่สุด

ครับ หนังสือ “สมุนไพรไม้ ประดับหายาก” เล่มที่ 4 ของ “นายเกษตร” พิมพ์ สี่สีทั้งเล่มปกแข็ง กระดาษ อาร์ตอย่างดี เย็บกี่แน่นและทนทาน เนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยสูตรยาสมุนไพรดีๆ ที่สามารถทำเองได้ ไม้ดอกไม้ผลหายากมากมาย ไม่น้อยกว่า 150 ชนิด พิมพ์จำนวนจำกัด ไม่ วางขายที่ไหน หมดแล้วหมดเลย ราคาเล่มละ 600 บาท บวกค่าส่งเล่มละ 30 บาท ส่งธนาณัติซื้อสั่งจ่าย “คุณนงลักษณ์ ศรีอัชรานนท์” ตู้ ปณ. 48 ปณฝ.สาขาสามแยกลาดพร้าว กทม. 10901 ระบุที่อยู่ให้ชัดเจน หนังสือถึงมือไม่ช้า

หรือ สอบถามผลิตภัณฑ์สมุนไพร น้ำมันสมุนไพร ทาแก้ปวดข้อ ปวดบวม เข่าอักเสบ ปวดข้อรูมาตอย, ยาลดเบาหวานแคปซูล รับประทานได้กับทุกธาตุ, ว่านชักมดลูก ช่วยทำให้มดลูกกระชับ มดลูกเข้าอู่เร็วหลังคลอด แก้น้ำคาวปลา ดับกลิ่นเหม็น แก้ต่อมลูกหมากอักเสบ และไส้เลื่อนในบุรุษ, ชาดอกยี่สุ่น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ, กระเทียมโทนแก้หอบหืด แก้ไอละลายเสมหะที่เกิดจากหอบหือและแก้ถุงลมโป่งพอง, ดีบัวแคปซูล ช่วยขยายหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจ, ตรีผลา ลดไขมันในเส้นเลือด ลดไตรกีเซอร์ไรน์, ครีมโลดทนง รักษาสิวฝ้า ทำให้หน้าเนียนใส รูขุมขนตีบลง, คอลลาเจน 100% ช่วยชะลอรอยย่นบนใบหน้า, ยาต้มคลายเส้นไม้เท้าเฒ่าอาลี แก้ปวดเมื่อย แก้เกาต์ ลดเบาหวาน บำรุงไต บำรุงกำลัง โทร.0-2275-2692 ครับ.

“นายเกษตร”

“อาซาเลียดอกด่าง” สวยแปลก ( 13 ก.พ. 52 )


โดยทั่วไปแล้ว อาซาเลียจะมีดอกเป็นสีล้วนๆ ไม่มีแต้มไม่มีด่าง มีด้วยกันหลายสี เช่น สีขาว ชมพู และสีแดง มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและหลายชั้น คนส่วนใหญ่รู้จักอาซาเลียเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงนี้อาซาเลียกำลังมีดอกเบ่งบาน มีต้นวางขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ซื้อหาไปมอบเป็นของขวัญได้ถูกใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ

แต่ “อาซาเลียดอกด่าง” เป็น สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในประเทศไทย เป็นชนิดที่มีกลีบดอกชั้นเดียว สีของกลีบดอกจะเป็น 2 สี (ปกติเป็นสีขาวล้วน) โดย บริเวณกลีบดอกจะมีลายสีชมพูแต้มเป็นทางยาวจากโคนกลีบไปจนจดปลายกลีบสวยงาม แปลกตามาก ที่สำคัญเวลามีดอกจะทิ้งใบหมดต้น ทำให้ดูน่ารักยิ่งขึ้น

อาซาเลียดอกด่าง หรือ RHODODENDRON HYBRID (AZALEA) อยู่ในวงศ์ ERICA-CEAE เป็นไม้พุ่ม สูงตั้งแต่ครึ่งเมตรไปจนถึง 2 เมตร (พันธุ์ทั่วไปสูงได้ตั้งแต่ 4-10 เมตร) แตกกิ่งก้านกว้าง เปลือกต้นเรียบ เป็นสีนํ้าตาลเทา จัดอยู่ในจำพวกไม้ ผลัดใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ ออกหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนกว้าง โคนใบป้านลึก เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง ผิวใบเรียบสีเขียวสดและเป็นมัน

ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3-5 ดอก ซึ่งดอกของ “อาซาเลียดอกด่าง” เป็นชนิดพันธุ์ที่มีกลีบดอกชั้นเดียว ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายบานเป็นปากแตรและแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม เป็นสีขาว มีลายสีชมพูแทงขึ้นจากโคนกลีบดอกไปจนถึงปลายกลีบดอกตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้วฟุต เวลามีดอกดก และดอกบานสะพรั่งพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมาก ดอกบานได้ทนนานหลายวัน ดอกออกช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม ปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “อาซาเลียดอกด่าง” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 8 แผง “คุณเผือก” ราคาสอบถามกันเอง การปลูกเติบโตได้ดีทางภาคเหนือ ตอนบนของประเทศ ไทย และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบอากาศหนาวเย็นครับ.

“นายเกษตร”

“ดีปลี” ปลูกกินผลเป็นยา ( 16 ก.พ. 52 )

ดีปลี เป็น พืชสวนครัวชนิดหนึ่ง ที่ยุคสมัยก่อนนิยมปลูกในบริเวณบ้านกันแพร่หลาย สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง รสชาติเผ็ดร้อนเหมือนกับพริกไทยอ่อน ใช้ปรุงอาหารจำพวกแกงเผ็ด แกงคั่ว ช่วยดับกลิ่นคาว ผลสดเคี้ยวกินเป็นผักเคียงได้ ยอดอ่อนใส่ข้าวยำปักษ์ใต้ ผลสดตำเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง เทศและเครื่องแกงชนิดต่างๆ ชาวต่างชาตินิยมกันมาก ปัจจุบัน ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกกันแล้ว คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก “ดีปลี” จะมีปลูกเฉพาะตามสวนสมุนไพรใหญ่ๆ เพื่อใช้ทำยาไม่กี่แห่ง เชื่อว่าถ้าไม่รณรงค์ให้ปลูกกัน อีกไม่นาน “ดีปลี” ต้องสูญพันธุ์อย่างแน่นอน

ดีปลี หรือ PIPER CHAB HUNT หรือ LONG PEPPER, PIPER RELTROFRACTU VAHL อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE เป็น ไม้เถาเลื้อย มีรากฝอยออกบริเวณข้อช่วยยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ รูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด เวลาปลูกให้ต้นหรือเถาเลื้อยตามหลักหรือซุ้ม จะมีใบหนาแน่นน่าชมยิ่ง สามารถเลื้อยหรือไต่ได้ไกล 3-5 เมตร

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกเพศที่ง่ามใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ดอกชูตั้งขึ้น มีดอกขนาดเล็กเบียดกันแน่น “ผล” เป็นผลสด สีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม หรือ กลิ่นฉุนแรง มีดอกและผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอก ไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป
ประโยชน์ ทางสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ หรือประมาณ 10-15 ผล ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ ผลยังใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้ง ครึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวแทรก เกลือป่นเล็กน้อยจิบบ่อยๆ อาการจะหายได้ น้ำมันหอมระเหยและสาร PIPERINE พบว่าสารสกัด “เมทานอล” มีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัด “ปิโตรเลียมอีเธอร์” ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง ดังนั้น สตรีมีครรภ์จึงควรระวัง
ใบ แก้เส้นสุมนา (เส้นศูนย์กลางท้อง) ผลแก้ธาตุพิการ ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืด แก้ไอ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคนอนไม่หลับ แก้ลมบ้าหมู แก้ปวดกล้ามเนื้อ เกาต์ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ราก แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาตดีมาก ในต่างประเทศใช้ผลสดหรือแห้งดองเหล้าดื่มเป็นยาชูกำลังครับ.
“นายเกษตร”

“พริกหวาน” มีต้นขายผลสวยอร่อย ( 17 ก.พ. 52 )

ผู้อ่าน จำนวนมากที่ชอบปลูกพืชผักสวนครัวอยากทราบว่า “พริกหวาน” มีต้นขายที่ไหน และขอให้แนะนำวิธีปลูกด้วย ซึ่งเป็นจังหวะที่พบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ต้น “พริกหวาน” วางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ เมื่อไม่นานมานี้ จึงรีบสนองความต้องการทันที

พริกหวาน หรือ BELLPEPPER หรือ CAPSICUM มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกา ใต้และแพร่กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลกตั้งแต่ ค.ศ.1493 เป็นพืชล้มลุกในกลุ่ม NIGHT-SHADE กลุ่มเดียวกันกับมะเขือเทศ มะเขือม่วง เป็นต้น ซึ่ง “พริกหวาน” มีด้วยกันหลายสี คือ สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีส้ม สีม่วง สีดำ และ สีขาว แต่ที่นิยมปลูก นิยมรับประทานและมีผลขายทั่วไป ได้แก่ชนิด สีเขียว สีแดง และ สีเหลือง

สามสี ที่กล่าวมา สีเขียว จะมีความหวานน้อยที่สุด ส่วนสีแดงกับสีเหลืองหวานที่สุด ลักษณะต้นสูงครึ่งฟุตถึงหนึ่งฟุต หรือสูงกว่านั้นอยู่ที่สายพันธุ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวสด ดอก สีขาว “ผล” รูปทรงกลมรีเล็กน้อย รอบผลมีร่องแบ่งเป็นพูๆ 4 ร่อง ผลโตเต็มที่ประมาณผลส้มเขียวหวาน ด้านในกลวงมีเมล็ด เนื้อหนา รสชาติเผ็ดปนหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมผ่าหรือฝานเป็นชิ้นบางๆทำสลัดผัก ปรุงเป็นผัดพริกหวานกุ้งสดใส่งาดำ ยำพริกหวานใส่กุ้งสุก และอื่นๆ รับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปัจจุบัน “พริกหวาน” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “นายดาบสมพร” ราคาสอบถามกันเอง

การปลูก “พริกหวาน” ชอบแดด ไม่ ชอบน้ำท่วมขัง ถ้าปลูกลงดินจำนวนหลายๆต้น ต้องยกแปลงปลูกให้สูง ปรุงดินผสมแกลบดิบ แกลบดำ (แกลบเผา) ฟาง แห้งสับละเอียด ขี้วัวขี้ควายแห้ง คลุกให้เข้ากันจนได้ที่ เกลี่ยหน้าดินให้เรียบ นำต้นลงปลูกห่างกัน 1 ฟุตครึ่ง ใช้ฟางแห้งปิดทับหน้าดินตลอดทั้งแปลงในช่วงปลูกตอนแรก รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยสูตร 16-16-16 สลับกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพครึ่งเดือนครั้ง เมื่อสังเกตเห็นว่าต้นตั้งตัวได้ดีแล้วสามารถเอาฟางแห้งที่ปิดทับหน้า แปลงออกได้

จากนั้น 7-8 เดือน ต้น “พริกหวาน” จะ มีดอกและติดผล ซึ่งตอนนี้มักจะมีเพลี้ยเกาะกินใบให้ใช้สารสะเดาฉีดพ่นบางๆ อาทิตย์ ละครั้ง เมื่อผลสุกหรือแก่สามารถเก็บรับประทานหรือเก็บขายได้ ต้นหนึ่งจะเก็บผลได้ 1-2 ชุด จากนั้นจะตายตามวัฏจักรของพืชล้มลุก ดังนั้น จึงต้องเก็บผลแก่จัดผ่าเอาเมล็ดตากแห้งเพาะขยายพันธุ์เตรียมไว้ให้พอดีกับ ต้นที่ตาย จะได้มี “พริกหวาน” รับประทานหรือขายไม่ขาดระยะครับ.

“นายเกษตร”

“ขิง ตะไคร้ กะเพรา” บรรเทาข้อเท้าแพลง ( 18 ก.พ. 52 )

เวลา เกิดข้อเท้าแพลง ไม่ว่าจากการเดินแล้วเท้าพลิก หรือเกิดจากการเล่นกีฬา จะรู้สึกเจ็บปวดมาก ข้อเท้าบวม บางครั้งถึงกับเดินไม่ได้ ในสมัยก่อนส่วนใหญ่ ใช้แค่น้ำมันหม่อง หรือน้ำมันเขียวทานวดเบาๆ พอบรรเทาและหายได้ แต่ใช้เวลานาน ในทางสมุนไพรมีวิธีรักษาได้เหมือนกันและนิยมกันแพร่หลาย เพราะได้ผลดีและช่วยทำให้อาการข้อเท้าแพลงหายได้เร็วขึ้น

โดย เวลาที่เกิดข้อเท้าแพลง หรือข้อเท้าพลิก ให้ เอา ขิง ตะไคร้แกง หรือ ตะไคร้บ้าน และ กะเพรา แบบ สด กะจำนวนมากน้อยตามต้องการ ต้มกับน้ำท่วมข้อเท้า ต้มจนเดือดยกลงให้น้ำอุ่น เอาเท้าข้างที่แพลง หรือพลิกลงแช่พร้อมใช้มือนวดเบาๆเพื่อกระตุ้นให้เลือดบริเวณดังกล่าวไหล เวียนดี ทำเช่นนี้ 2-3 วัน จะทำให้หายปวดและหายเร็วขึ้น

ขิง ตะไคร้ และ กะเพรา เป็นพืชครัว มีวางขายทั่วไปตามตลาดสด ใช้ปรุงอาหารได้หลากหลายแตกต่างกันไปตามรสชาติ และพืชครัวทั้ง 3 ชนิดนี้ นอกจากจะรับประทานได้อร่อยแล้ว แต่ละชนิดยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมายไม่เหมือนกันอีกด้วย แต่เมื่อนำไปต้มรวมกันจะมีฤทธิ์เป็นยาช่วยบรรเทาอาการข้อเท้าแพลง หรือข้อเท้าพลิกเด็ดขาดมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่ชอบสมุนไพร ชอบวิธีรักษาแบบธรรมชาติ และ ต้องมีเวลาในการต้มยาเท่านั้น

ครับ หนังสือ “สมุนไพรไม้ประดับหายาก” เล่มที่ 4 ของ “นายเกษตร” พิมพ์ สี่สีทั้งเล่ม ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี มีความหนา 256 หน้า เนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยสูตรยาสมุนไพร ทำเองง่ายๆ ไม้ดอกไม้ผลกว่า 150 ชนิด พิมพ์ จำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย ไม่พิมพ์เพิ่มเด็ดขาด ไม่ได้วางขายที่ไหน ราคาเล่มละ 600 บาท บวกค่าส่งเล่มละ 30 บาท ส่งธนาณัติซื้อ สั่งจ่าย “คุณนงลักษณ์ ศรีอัชรานนท์” ตู้ ปณ.48 ปณฝ.สาขาสามแยกลาดพร้าว กทม. 10901 ระบุที่อยู่ให้ชัดเจน หนังสือถึงมือไม่ช้า หรือสอบถามผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพชรสังฆาตแคปซูล แก้ริดสีดวงทวาร, ขมิ้นพอกหน้า ทำให้หน้าตึงใส, เซรั่มสกัดจากธัญพืช บำรุง ผิวหน้าชั้นในและชั้นนอก, ข่อยขัดรักแร้ แก้กลิ่นเต่า ทำให้ผิวกลับมาเหมือนเดิม, ข่อยสีฟัน ทำให้ฟันขาวใส เหงือกแข็งแรง, น้ำมันงาหีบเย็นไม่ผ่านความร้อน ทาผิวให้ชุ่มชื้น หมักผม อม 20 นาทีแล้วบ้วนทิ้งดูดสารพิษ ในกาย, ครีมกันแดดกระชายดำ, ว่านชักมดลูก ช่วย ให้มดลูกกระชับ ดับกลิ่นเหม็น แก้คาวปลา แก้ต่อมลูกหมากอักเสบและไส้เลื่อนในบุรุษ, ครีมนวดผมตะไคร้, แชมพูสระผมสูตรสมุนไพร 5 ชนิด, ตรีผลา ลดไขมันในเส้นเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์, ยาต้มคลายเส้นไม้เท้าเฒ่าอาลี แก้ปวดเมื่อย แก้เกาต์ ลดเบาหวาน บำรุงไต บำรุงกำลัง, คอลลาเจน 100% ช่วยชะลอรอยย่นบนใบหน้า, ครีมโลดทะนง รักษาสิวฝ้า ทำให้หน้าเนียนใส รูขุมขนตีบลง โทร.0-2275-2692 ครับ.
“นายเกษตร”

“คาร่าลิลลี่” เลี้ยงในนํ้าสวย ( 19 ก.พ. 52 )

ไม้ต้นนี้ มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเม็กซิโก ถูกนำเข้ามาขยายพันธุ์ปลูกในประเทศไทยหลายปีแล้ว มีลักษณะเป็นไม้กึ่งไม้นํ้า สามารถเพาะเลี้ยงสองแบบคือ ปลูกได้ทั้งบนดินทั่วไปและปลูกเลี้ยงในนํ้าได้ มีความโดดเด่นคือ ใบขนาดใหญ่ รูปทรงสวยงามมาก ดอกคล้ายดอกลิลลี่ มีดอกดกไม่ขาดต้น กำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

คาร่าลิลลี่ เป็นไม้มีเหง้าใต้ดินใบแทงขึ้นจากเหง้า ก้านใบยาวได้กว่า 1 ฟุต รูปทรงกลมมีร่องยาวตลอดทั้งก้าน อวบนํ้า มีรูอากาศภายในก้านใบเหมือนผักตบทั่วไป ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวสด เวลามีใบดกหรือแตกเป็นกอขนาดใหญ่ ก้านใบชูใบตั้งขึ้น จะสวยงามน่าชมมาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ โดยก้านช่อดอกแทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวได้กว่า 1 ฟุต รูปทรงกลม โตขนาดนิ้วชี้มือผู้ใหญ่ สีเขียวสด ด้านในอวบนํ้ามีรูอากาศเช่นเดียวกับก้านใบ ลักษณะดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปกรวยควํ่า ปลายแยกเป็นแฉกหลายแฉก มีกลีบดอก 1 กลีบ ม้วนเข้าหากันคล้ายขนมทองม้วนเป็นหลอด โดยปลายบานเป็นกลีบดอก ขอบกลีบดอก 2 ด้านเกยประกบกันเห็นชัดเจน ดูเหมือน ดอกลิลลี่ แต่ไม่มีกลิ่นหอม ดอกเป็นสีขาว ใจกลางดอกมีเกสรสีเหลืองเป็นรูปแท่งคล้ายเกสรของดอกหน้าวัว ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5-4 นิ้วฟุต ถือเป็นดอกมีขนาดใหญ่มาก เวลามีดอกดกและก้านช่อดอกชูตั้งขึ้นหลายๆ ดอก เรียงกัน จะดูสวยงามมาก ดอกบานได้นานหลายวัน ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น หรือเหง้า

ปัจจุบัน “คาร่าลิลลี่” มีต้นขายที่ตลาดนัด ไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 3 แผง “ป้าแอ๊ด” ราคาสอบถามกันเอง การปลูก ปลูกได้หลายแบบ คือปลูกลงดินกลางแจ้งและปลูกในนํ้า เช่นไม้นํ้าทั่วไป หรือแบบการปลูกบัว (เคยแนะนำไปแล้ว) และปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแดดส่องถึงตลอดวัน เป็นไม้ที่ไม่กลัวนํ้าท่วมขัง เนื่องจากเป็นไม้กึ่งไม้นํ้าตามที่กล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นกลุ่มจำนวนหลายๆต้น บำรุงปุ๋ยสูตร 16-16-16 เดือนละครั้ง จะทำให้ “คาร่าลิลลี่” แตกต้นเป็นกอใหญ่มากขึ้น เวลามีดอกดกเป็นช่อชูตั้งขึ้น จะดูสวยงามน่ารักมาก ยังสามารถตัดเอาดอกไปปักแจกันได้อีกด้วยครับ.

“นายเกษตร”

“ฝรั่งเชอรี่” ปลูกประดับกินได้ ( 20 ก.พ. 52 )

ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ ผู้ที่เคยชื่นชอบ ปลูกไม้ดอกหอมและดอกสวยงามเปลี่ยนแนวคิดหันไปปลูกพืชผักสวนครัว หรือไม้ผลกินได้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ให้เหตุผลเหมือนกัน คือ สวย หอม แต่กินไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มีเหมือนกันที่ยอมรับว่าไม้บางชนิดนอกจากจะกินได้แล้ว ยังมีความงามปลูกเป็นไม้ประดับได้ ซึ่ง “ฝรั่งเชอรี่” ก็จัดอยู่ในจำพวกดังกล่าวด้วย คือเวลาติดผลสุกกินได้และมีสีสันงดงามมาก กำลังเป็นที่นิยมปลูกอยู่ ในเวลานี้

ฝรั่งเชอรี่ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย เป็นไม้พื้นเมืองดั้งเดิม ลักษณะทั่วไปเป็นไม้พุ่ม ต้นสูง 3-5 เมตร แตกกิ่ง ก้านหนาแน่นเป็นพุ่มทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานปลายและโคนใบแหลม หรือเกือบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ สีเขียวสดเป็นมัน ซึ่งลักษณะใบเหมือนกับใบต้นไทร ไม่เหมือนใบฝรั่ง ขยี้ดมไม่มีกลิ่นเหมือนใบฝรั่ง ใบดกน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตาม ซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว “ผล” รูปทรงกลม โตเต็มที่ประมาณปลานิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ หรือประมาณผลตะขบป่าของไทย ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รับประทานได้ รสชาติเหมือนฝรั่ง ทั่วไป แต่จะมีกลิ่นแรงมาก เวลาติดผลดกเต็มต้นและผลสุกเป็นสีแดง และสีส้ม จะดูสวยงามคล้ายผลเชอรี่ หรือผลสตรอเบอร์รี่ จึงถูกตั้งชื่อว่า “ฝรั่งเชอรี่” หรือ ฝรั่งสตรอเบอร์รี่ ติดผลดกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “ฝรั่งเชอรี่” หรือ ฝรั่งสตรอเบอร์รี่ มี ต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 3 แผง “ป้าแอ๊ด” ราคาสอบถามกันเอง การปลูก ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ทนแล้งได้ดี เติบโตเร็ว

เหมาะ จะปลูกเป็นไม้ผลกินได้ในบริเวณบ้าน และปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อชมความงามของผลสุก มีสีสันน่ารักดี ปลูกได้ทั้งแบบลงดินกลางแจ้ง เป็นกลุ่มหลายๆต้น และปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งในที่มีแสงแดดส่องตลอดวัน ทำทางระบายน้ำก้นกระถางให้ดี อย่าให้มีน้ำขังได้อย่างเด็ดขาด หลังปลูกรดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์ จำพวกขี้วัว หรือขี้ควายโรยกลบฝังดินรอบโคนต้นเดือนละครั้ง จะทำให้ “ฝรั่งเชอรี่” แตก กิ่งก้านหนาแน่น ตัดแต่งกิ่งให้อยู่ในทรงที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีผลดก เมื่อผลสุกจะสร้างสีสันสวยงามน่ารักมากสามารถเก็บรับประทานได้ครับ.

“นายเกษตร"

“โบตั๋นดอกตั้ง” สวยแปลก ( 23 ก.พ. 52 )

คนทั่วไป จะรู้จักดอกโบตั๋นเฉพาะชนิดที่มีดอกเป็นสีขาว เวลามีดอกจะห้อยลง ดอกบานตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอมตอนกลางคืน ส่วน “โบตั๋นดอกตั้ง” เป็น พันธุ์ใหม่ ซึ่งชนิดนี้จะมีดอกตั้งขึ้น และดอกบานตอนกลางวัน ไม่มีกลิ่นหอม กลีบดอกเมื่อบานจะดูเหมือนกลีบดอกบัว สีสันสวยงามน่ารักมาก กำลังเป็นที่นิยมปลูกอยู่ในเวลานี้
โบตั๋นดอกตั้ง หรือ EPIPHYLLUM SPP. ชื่อสามัญ ORCHIDCACTUS เป็น ไม้อยู่ในตระกูล แคทตัส หรือกระบองเพชร เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่อเมริกาเขตร้อน แล้วถูกนำเข้าไปขยายพันธุ์ปลูกในประเทศจีนตั้งแต่สมัยโบราณ และได้รับความนิยมปลูกกันแพร่หลาย จนกลายเป็นไม้ของจีนไปโดยปริยาย ลักษณะต้น แบน เป็นข้อ กลางลำต้นมีแกนตลอดโคนจดยอด ข้างลำต้นเป็นจักๆ ลำต้นอวบนํ้าหนาและแข็ง ต้นมักโค้งงอเมื่อโตเต็มที่ ยาวได้ประมาณ 1 ฟุต ลำต้นเป็นสีเขียว
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกจักของลำต้น ดอกชูตั้งขึ้น ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอกหลายกลีบ กลีบดอกมีชั้นเดียว รูปกลีบดอกแหลมคล้ายกลีบดอกบัว ดอกเป็นสีแดงอมชมพู ใจกลางดอกมีเกสรจำนวนมาก สีเหลือง ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-3.5 นิ้วฟุต เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูสวยงามน่ารักมาก (ดูภาพประกอบคอลัมน์) ดอกออกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น ปัจจุบัน “โบตั๋นดอกตั้ง” มีขายที่ตลาดนัด ไม้ดอก ไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 3 แผง “ป้าแอ๊ด” ราคาสอบ ถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบแดดจัด ไม่ชอบนํ้าท่วมขัง รดนํ้าพอชุ่มวันละครั้ง บำรุงปุ๋ยขี้วัวหรือขี้ควายแห้งโรยตามหน้าดินเดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกสวยงามไม่ขาดต้น

ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ คนไทยเชื้อสายจีน นิยมปลูกลงกระถางตั้งประดับไว้หน้าบ้าน โดยมีความเชื่อว่าโบตั๋นทุกสายพันธุ์ เป็น ไม้มงคล ปลูกประดับบารมี เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและความสุข ราก ของโบตั๋นทุกสายพันธุ์ ชาวจีน หรือชาวไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่าตัดพกติดตัวเดินทางไปไหน จะเป็นเสน่ห์ทำให้คนชื่นชอบอีกด้วย

นอกจากนั้น ยังมีตำนานเล่าอีกว่า สมัยพระนางบูเช็คเทียน ในเช้าวันหนึ่งพระนางเสด็จชมสวนดอกไม้ และได้มีคำสั่งให้ดอกไม้นานาชนิดเบ่งบานต้อนรับ ซึ่งดอกไม้ทุกชนิดต่างพากันชูช่อเบ่งบานตามคำสั่งของพระนาง มีเพียงดอกโบตั๋นชนิดเดียวที่ไม่ยอมบาน (บางสายพันธุ์บานตอนกลางคืน) ทำให้พระนางโกรธมาก มีคำสั่งให้ทหารนำต้นโบตั๋นไปไว้ที่เมือง ลกเอี้ยง จนหมด ซึ่งปรากฏว่าเมืองแห่งนี้เป็นแหล่งที่มีต้นโบตั๋นมากที่สุด จนกระทั่งปัจจุบันครับ.

“นายเกษตร”

'มินิคอมพานี' ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ

หนุนประสบการณ์สำเร็จรูป ปลูกฝังเด็กเรียนรู้-พึ่งตนเอง

ต้องยอมรับกันว่าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ลุกลามทั่วโลกเป็นผลกระทบ กับประชากรแต่ละประเทศ ต่างต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริหารจัดการวางแผนวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทยของเรา แผนรองรับวิกฤติเศรษฐกิจแม้ว่าจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ความโชคดีที่พื้นฐานของการเป็นประเทศเกษตรกรรมกับแนวทางพระราชดำริ พอเพียง เป็นเสมือนเกราะคุ้มครองป้องกันความเดือดร้อนที่จะ เกิดขึ้นกับประชาชน

โดยเฉพาะในระดับรากหญ้าเป็นอย่างดี อีกทั้งการวางแผนทางการศึกษาที่ปลูกฝังประชากรตั้งแต่วัยเด็กได้เรียนรู้ พื้นฐานของการสร้างงานสร้างรายได้ในขณะที่ศึกษาเล่าเรียน

โครงการมินิคอมพานี (minicompany) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนรายวิชางานอาชีพ กับการจัดตั้งรวมตัวเป็นกลุ่มบริษัทขนาดเล็กภายในหน่วยงานสถานศึกษาที่ บูรณาการทั้งทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการด้วย กระบวนการเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนได้มีรายได้ระหว่างเรียน เช่นเดียวกันกับ “โครงการมินิคอมพานี” ของโรงเรียนบ้านเกาะรากเสียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ที่ได้ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยมีเป้าหมายของโครงการคือ “นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปพัฒนาเป็นอาชีพยึดหลักเศรษฐกิจ พอเพียง” ส่วนวัตถุประสงค์ที่สำคัญของโครงการมินิคอมพานีที่นอกจากจะสร้างเสริมให้นัก เรียนได้มีความรู้ความสามารถ สร้างงานหารายได้ระหว่าง เรียนแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยการปฏิบัติงานที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและ ประกอบอาชีพตลอดจนการศึกษาต่อ มีเจตคติต่ออาชีพสุจริตและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีในการปฏิบัติงาน

อาจารย์วรรณา โชคประเสริฐถาวร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเกาะรากเสียด เจ้าของโครงการมินิคอมพานีได้เล่าให้ฟังว่า โรงเรียนได้จัดกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันนี้ได้สร้างผลิตภัณฑ์งานอาชีพพื้นฐานให้แก่เด็กนักเรียนหลายชิ้นงาน ทั้งการจัด ทำผลิต ภัณฑ์จากปูนปลาส เตอร์ การทำเทียนหอมสมุนไพร การทำผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก การประดิษฐ์ของชำร่วย ดอกไม้จากผ้าใยบัว การประดิษฐ์ตุ๊กตาด้นมือสุนัขผ้าขนสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น สำหรับวัตถุดิบที่นำมาผลิตนั้นในเบื้องต้นจะพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่ภาย ในท้องถิ่นอย่างเช่น การทำช่อกล้วยไม้จากผ้าใยบัว ที่นำเอาเศษไม้วัสดุตามทุ่งไร่ปลายนามาตกแต่งจนสวยงาม การจัดทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะได้รับงบประมาณการสนับสนุนจากเงินรายหัวนักเรียนส่วนหนึ่ง รายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายอีกส่วนหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มากมายแต่เป้าหมายก็คือการสร้างความรู้ให้นักเรียนได้มีอาชีพติด ตัว หลังจากที่จัดทำและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้พอสมควรแล้ว สินค้าก็จะถูกนำไปจำหน่าย ณ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนของเขตพื้นที่ ร้านขายของฝากภายในปั๊มน้ำมันและร้านในเขตอำเภอเมือง ส่วนหนึ่งก็จะใส่ตะกร้าให้นักเรียนนำไปจำหน่ายตามโครงการ “ตะกร้าอาชีพ” ซึ่งก็พอที่จะสร้างรายได้ให้แก่นักเรียนได้ในระดับหนึ่ง อาจารย์วรรณายังได้เล่าเทคนิคการจัดช่อดอกไม้ซึ่งเป็นสินค้าอันดับหนึ่งให้ ฟังว่า หลักการสำคัญคือ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือการประดิษฐ์ดอกไม้ ศึกษาจากของจริงแล้วฝึกปฏิบัติ โดยเฉพาะเทคนิคของการ จัดช่อ การวางรูปแบบจะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด ช่อดอกไม้ที่นิยมจะมีทั้ง ช่อกล้วยไม้ช้างเผือก ช้างกระ ดอกบัว ดอกกุหลาบ และต้นกระบองเพชร รวมถึงดอกไม้ตามที่ลูกค้าหรือท้องตลาดมีความต้องการ

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการเรียนโดยใช้บทเรียนทางคอมพิวเตอร์ในการสอนเรื่อง ของการประดิษฐ์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลายและผู้สนใจก็สามารถที่จะนำไปเรียน รู้ด้วยตนเองได้จากแผ่นซีดีแต่ละรายการ ซึ่งจะเริ่มจากการแนะนำบทเรียนด้วยการเรียนรู้เนื้อหาสาระเบื้องต้น ตั้งความคาดหวังจากการเรียนรู้ ต่อจากนั้นก็จะคลิกไปที่สาระการเรียนรู้นักเรียนสามารถค้นหาขั้นตอนย้อนกลับ ไปมาได้ตามความต้องการ ซึ่งการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์จะมีการทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียน อย่างไรก็ตามอาจารย์วรรณาได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคตจะได้นำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในโครงการมินิคอมพานี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การออกแบบ ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงด้านการตลาดอีกด้วย

นับว่าเป็นโครงการดี ๆ ที่วันนี้คุณครูได้สอนสั่งปลูกฝังให้แก่ศิษย์ได้คิดเป็น ทำเป็น สร้างงานสร้างรายได้ระหว่างเรียน เพื่อออกไปสู่สังคมอย่างมีคุณภาพอีกหนทางหนึ่ง.

ศุภชัย ศรีงาม

'บางแก้ว' สุนัขพันธุ์ไทยแห่งสองแคว

นิสัยโดดเด่น 'รัก-หวงเจ้าของ'
วันนี้...ชื่อกระฉ่อนตลาดสากล

พิษณุโลก...หรือเมืองสองแควในอดีต ถือเป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนล่างของภาคเหนือ หรือเปรียบเสมือนเป็นประตูสู่ภาคเหนือ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นกำเนิดของสุนัขบางแก้ว ที่เป็นสุนัขสายพันธุ์ไทยแท้ และกำลังเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยในขณะ นี้ รวมไปถึงต่างประเทศโดยสุนัขสายพันธุ์บางแก้ว มีประวัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่ากันว่าที่ หมู่บ้านบางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ได้มี หลวงตามาก เมธาวี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ในสมัยนั้น ที่วัดของท่านได้เลี้ยงสุนัขไว้ ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัว ซึ่งเป็นสุนัขบ้านสายพันธุ์ทาง ที่มีชาวบ้านนำมาปล่อยไว้ภายในวัด จนแพร่ลูกแพร่หลานเต็มไปหมด และที่สำคัญสุนัขที่อยู่ใน วัดบางแก้วนั้นล้วนแต่เป็นสุนัขที่สอนง่าย และมี นิสัยหวงของ จนทำให้ชาวบ้านนิยมมาขอสุนัขที่วัดไปเลี้ยงตามบ้าน เพื่อฝึกให้เฝ้าบ้านยามต้องทิ้งบ้านไปไร่ไปนา หรือแม้แต่ฝึกให้ล่ากระต่าย และฝึกไว้คอยต้อนเป็ดเข้าเล้า จนเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไปว่าสุนัขวัดบางแก้วมีความฉลาดปราดเปรียวกว่า สุนัขที่อื่น ๆ

อดีตนั้น บ้านบางแก้ว เป็นบ้านป่า อยู่ในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่เป็นป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งสุนัขจิ้งจอก และหมาไน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าสาเหตุที่สุนัขของวัดบางแก้วนั้นฝึกสอน ง่าย และมีนิสัยรักเจ้าของหวงของนั้น สุนัขบางแก้วน่าจะเกิดมาจากสุนัขพันธุ์ทางที่ทางวัดเลี้ยงไว้ แอบไปผสมพันธุ์กับสุนัขจิ้งจอกหรือไม่ก็หมาไน ที่มีอยู่อย่างชุกชุมบริเวณรอบ ๆ วัดในสมัยก่อน เพราะสุนัขจิ้งจอกและหมาไนเหล่านี้ เมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง ก็มักจะแอบเข้ามาหากินในเขตบริเวณวัดอยู่เป็นประจำ และมักจะผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ทางที่ทางวัดเลี้ยงไว้ จนแพร่ลูกหลานเต็มไปหมด ซึ่งชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณหมู่บ้านนั้นเห็นเป็นเรื่องปกติ สุนัขจิ้งจอกและหมาไนทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่มีความว่องไว ปราดเปรียว แข็งแรง เมื่อมีการผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติ ในที่สุดก็ได้สุนัขพันธุ์ผสม ที่ชาวบ้านตั้งชื่อเรียกตามชื่อหมู่บ้านว่า หมาไทยพันธุ์บางแก้ว ซึ่งเป็นสุนัขที่ผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ทาง กับสุนัขจิ้งจอก และหมาไน ซึ่งมีลักษณะเด่นปรากฏโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้ายอานม้า หางเป็นพวงสวยงาม มีขนที่แผงคอคล้ายแผงคอสิงโต เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูงไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ และมีนิสัยเด่นด้วยความซื่อสัตย์และรักเจ้าของ จึงทำให้ชาวบ้านต่าง มีความเชื่อกันว่าสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด มีพื้นที่ต้นกำเนิดอยู่ในเขต บ้านบางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก สุนัขบางแก้วมีลักษณะเด่นหลายอย่างโดยเฉพาะรักเจ้าของและฉลาด จึงเป็นที่นิยมหากันไปเลี้ยงติดบ้าน จนในช่วงหลังมานี้สุนัขค่อนข้างหายาก และมีการนำออกมาจำหน่ายกันโดยมีราคาสูงพอ ๆ กับสุนัขสายพันธุ์ดัง ๆ จากต่างประเทศ

จนทำให้วันนี้มีผู้ที่ชื่นชอบและนิยมเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ได้ออกมารวมตัวกันก่อตั้งเป็น สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จ.พิษณุโลก โดยมี นายพิชัย คำสุวรรณ เป็นนายกสมาคม โดยนายพิชัย เปิดเผยว่า ทางสมาคมได้ร่วมมือกับผู้นิยมเพาะเลี้ยงสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวนกว่า 50 ราย ร่วมกันก่อตั้งสมาคมขึ้นที่บ้านเลขที่ 999/179 หมู่บ้านปาล์มเพลส หมู่ 3 ต.อรัญญิก อ.เมือง จ.พิษณุโลก เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการรวมกลุ่มของนักนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว ในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง พร้อมกับจัดให้ที่ทำการสมาคมเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสายพันธุ์สุนัขบางแก้ว ร่วมกันและเป็นไปในทิศทางเดียว กัน เพื่อความเป็นมาตรฐานในการพัฒนาสายพันธุ์สุนัขพันธุ์บางแก้ว พร้อมกับจัดให้มีการส่งเสริม สนับสนุน ให้สมาชิกมีการพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทย บางแก้วให้มีคุณภาพ โดยใช้หลักพันธุกรรมศาสตร์เพื่อให้ได้ลูกสุนัขออกมาตามมาตรฐานสายพันธุ์ ร่วมกันอนุรักษ์พัฒนาสุนัขพันธุ์บางแก้วให้มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมกับสุนัข นานาพันธุ์ ขจัดข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการเลี้ยงสุนัข เพื่อให้สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นที่ยอมรับให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้น รวมทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมลูกสุนัขเพื่อส่งขายในตลาดต่างประเทศ และในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการร่วมกันผลักดันให้สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้มีโอกาสขึ้น ทะเบียนกับ สมาพันธ์สุนัขโลก เพื่อเป็นการผลักดันให้สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว เป็นสินค้าส่งออกไปยังตลาดต่าง ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้เองสุนัขไทย พันธุ์บางแก้ว ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ จ.พิษณุโลก
ก็กำลังเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉลี่ยปัจจุบันทาง

ผู้เพาะเลี้ยงสามารถผลิตลูกสุนัขไทยสายพันธุ์ บางแก้วส่งขายได้เป็นจำนวนมากต่อปี ส่วนสุนัข ที่มีรูปร่างดีสีสวยหรือสุนัขที่เคยผ่านการประกวดในสนามต่าง ๆ และเป็นแชมป์ติดต่อกันมาหลายสนามนั้น สามารถส่งขายให้กับผู้นิยมเลี้ยงหรือ ผู้ที่ชื่นชอบได้ในราคาสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว จนทำให้ปัจจุบันมีชาวบ้านหลายคนหันมาประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์ บางแก้วขายกันอย่างแพร่หลาย โดยจะมีความนิยมแตกต่างกันไปตามชื่อเสียงของฟาร์มแต่ละฟาร์มที่มีสุนัขสาย พันธุ์ดี ๆ ที่มีพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อยู่ในฟาร์มของตัวเอง และมีสุนัข ที่ชนะการประกวดมาจากสนามต่าง ๆ ไว้ในครอบครองเพื่อเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ โดยหากเป็นสุนัขพันธุ์บางแก้วที่ มีขายอยู่ทั่วไปนั้นก็จะมีราคาอยู่ที่ ตัวละประมาณ 2-5 พันบาท และหากเป็นลูก สุนัขที่มีพ่อเป็นแชมป์หรือแม่เป็นแชมป์สายพันธุ์ดี ๆ ก็จะมีราคาขยับสูงขึ้นไปอีก

สำหรับสุนัขบางแก้วตามมาตรฐานพันธุ์สุนัขไทยบางแก้วนั้น หรือที่เรียกกันว่าสุนัขอเนกประสงค์ (Utility Group) ลักษณะโดยทั่วไปของสุนัขพันธุ์บางแก้วที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้สุนัขบางแก้ว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และคงไว้ซึ่งลักษณะเอกลักษณ์ ประจำพันธุ์ที่แน่นอน

และหากท่านที่สนใจจะหาซื้อสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วไปเลี้ยงนั้นหลักการเลือกลูกสุนัขนั้นต้องดูหลัก ๆ คือเลือกลูกสุนัขที่มีเหงือกสีแดง
จมูกมัน ไม่แห้ง แววตาสดใสร่าเริง มีสุขภาพดี นิสัยร่าเริงสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานพันธุ์ ศึกษาจากประวัติพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และสายพันธุ์ ดูว่าลูกสุนัขมาจากคอกหรือฟาร์มใด เจ้าของลูกสุนัขเป็นใคร และที่สำคัญใครเป็นผู้ขาย ต้องขอชื่อและเบอร์โทรฯ เพื่อติดต่อเมื่อเวลามีปัญหาหากสุนัขเจ็บป่วยจะได้โทรฯปรึกษา หรือขอคำแนะนำได้จากสมาคมที่ออกใบรับรองสายพันธุ์ของลูกสุนัข เพื่อป้องกันการโดนหลอก ก็จะได้ลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วที่มีคุณภาพที่ดี

นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว กล่าวต่ออีกว่า สำหรับสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว จ.พิษณุโลก ขณะนี้มีคอกสุนัขที่มีลูกสุนัขได้มาตรฐานสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วกว่า 10 ฟาร์มที่มีสุนัขพันธุ์บางแก้ว และมีพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่ผ่านการประกวดในสนามต่าง ๆ ระดับประเทศ จนได้รับรางวัลมากมาย เป็นการการันตีถึงคุณภาพได้ และขณะนี้สามารถผลิตลูกสุนัขส่งขายให้กับผู้นิยมทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์สุนัขไทย บางแก้วให้มีความอ่อนโยนไม่ดุร้ายมีนิสัยร่าเริงขี้อ้อน โดยเน้นการพัฒนาให้สุนัขไม่ก้าวร้าวและดุร้ายเหมือนอย่างที่ทุกคนเข้าใจว่า สุนัขพันธุ์บางแก้วนั้น ดุร้าย โดยทางสมาคมยินดีให้คำปรึกษาสำหรับคนที่เลี้ยงสุนัขพันธุ์บางแก้ว และคนที่คิดจะเลี้ยงอีกด้วย.

เดชา พถฒิกานนท์

'มะเดื่ออบแห้ง' ความก้าวหน้าของการปลูกมะเดื่อฝรั่งในไทย

จาก ที่หลายคนที่เชื่อว่า “มะเดื่อฝรั่ง” ไม่สามารถปลูกได้ในสภาพอากาศร้อนหรือปลูกได้ในพื้นที่ราบหมดไป เนื่องจากมีตัวอย่างของเกษตรกรได้นำต้นมะเดื่อฝรั่งหลายสายพันธุ์ที่นำเข้า จากต่างประเทศไปปลูกในทั่วทุกภาคของประเทศไทยติดผลดีหลายสายพันธุ์ อย่างแปลงปลูกทดลองของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ราบใน ต.คลองคะเชนทร์ อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ทดลองปลูกมะเดื่อฝรั่งมากกว่า 10 สายพันธุ์ เริ่มทดลองปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 มาถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2551 ได้สรุปข้อมูลเบื้องต้นว่าสายพันธุ์ที่เหมาะจะปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต โดดยึดหลัก “ให้ผลผลิตดกและรสชาติดี” มีอยู่ 4 สายพันธุ์คือ พันธุ์ญี่ปุ่นหรือพันธุ์ Black Jack, พันธุ์บราวน์ตุรกี, พันธุ์ออสเตรเลียและพันธุ์แบล็คมิสชั่น เป็นต้น

ความจริงแล้วความนิยมและการค้าขายมะเดื่อฝรั่งทั่วโลกส่วนใหญ่จะแปรรูปเป็น “มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง” ปัจจุบันมะเดื่อฝรั่งอบแห้งที่มีขายอยู่ในบ้านเรายังมีราคาสูงมากขายถึงผู้ บริโภคในราคากิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากตะวันออกกลาง มะเดื่อฝรั่งอบแห้งจัดอยู่ในกลุ่มอาหารและยา เนื่องจากเป็นผลไม้อบแห้ง ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก อุดมไปด้วยแคลเซียม และเส้นใยอาหาร (มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามะเดื่อฝรั่งมีปริมาณเส้นใยมากกว่าผักและผลไม้ ชนิดใด ๆ) มีวิตามินเอ, บีและซี ในผลมะเดื่อฝรั่งแต่ละผลจะมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ถึง 83% ที่สำคัญจัดเป็นผลไม้อบแห้งที่เหมาะต่อผู้สูงอายุที่ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ทดลอง นำมะเดื่อฝรั่งพันธุ์บราวน์ตุรกีและพันธุ์ออสเตรเลียมาทดลองอบแห้งในตู้อบผล ไม้แบบลมร้อนโดยใช้อุณหภูมิในการอบเฉลี่ย 70-80 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบนาน 10-12 ชั่วโมง ผลปรากฏว่าได้มะเดื่อฝรั่งอบแห้งที่มีรสชาติอร่อยและมีคุณลักษณะใกล้เคียง กับที่นำเข้าจากต่างประเทศ หลายคนที่ได้รับประทานถามว่าได้ใส่น้ำผึ้งหรือเพิ่มเติมน้ำตาลไปด้วยหรือไม่ ความจริงแล้วมะเดื่อเมื่ออบจนแห้งจะมีส่วนของน้ำที่มีกลิ่นหอมคล้ายกับน้ำ ผึ้งมีความแฉะเล็กน้อยออกมานอกผล ในเบื้องต้นสรุปได้ว่าพันธุ์บราวน์ตุรกีและพันธุ์ออสเตรเลียนำมาอบแห้งได้ อย่างแน่นอนและทั้ง 2 พันธุ์นี้ให้ผลผลิตดกมาก แต่เกษตรกรที่ปลูกจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพันธุ์ออสเตรเลียจะต้องตัดต้นให้สูงจากพื้นดินเฉลี่ย 80 เซนติเมตร-1 เมตร สำหรับพันธุ์บราวน์ตุรกีให้ตัดแต่งกิ่งแบบต้นน้อยหน่า ควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมิถุนายนเพื่อให้ต้นแตกกิ่งใหม่พร้อมให้ผลผลิตเก็บ ผลิตผลได้ในช่วงต้นฤดูหนาวเรื่อยมาจนถึงเดือนมีนาคม “มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง” ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการพัฒนา การปลูกมะเดื่อฝรั่งในประเทศไทยในขณะนี้.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

เลี้ยงวัวตามแบบของผู้ใหญ่บ้านที่มีความพอเพียง...

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระ ราชดำริให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (กปร.) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและประสานการดำเนินงาน ซึ่งนอกจากสร้างเขื่อนแล้ว ทางสำนักงาน กปร.ยังจัดฝึกอาชีพของราษฎรในพื้นที่รายรอบเขื่อนโดยการส่งเสริมสนับสนุนจาก หน่วยราชการในจังหวัดพิษณุโลก อาชีพที่สนับสนุนเหล่านี้ล้วนเป็นอาชีพเสริมรายได้และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ แก่ครอบครัวเพื่อให้ประชาชนบริเวณรอบเขื่อนมีอาชีพและรายได้ เสริมเลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้น

เคยบอกไปแล้วใช่ไหม ถ้าจำได้นะว่า...นายสมพงษ์ อ้นชาวนา อยู่ที่หมู่ 2 บ้านบางกระน้อย ต.นครป่าหมาก อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เขาได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการ เฉลิมพระเกียรติ “80 พรรษา ปวงประชา สุขศานต์” ซึ่งเป็นผู้น้อมนำ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติจนมีชีวิตที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่เพิ่มรายได้ให้ครอบครัวของเขา เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เลี้ยงจิ้งหรีด ปลูกข้าว ปลูกไม้ผล ทำปุ๋ยหมัก เผาถ่าน ทำให้ครอบครัวมีรายได้มั่นคงและมีภูมิคุ้มกันในตัวเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง

ผู้ใหญ่สมพงษ์ทำอะไรสารพัด แต่ทำได้ดีเสียด้วยนะ เคยบอกไปแล้วว่า เขาเลี้ยงกบได้ตัวโต๊...โต..ทีนี้จะเล่าถึงการเลี้ยงวัวของเขา ว่าเขาเลี้ยงอย่างไรถึงเลี้ยงได้ ดี ลองมาฟังแนวคิดของเขาดีกว่า เขาเล่าว่า....

...ก่อนที่จะเลี้ยงวัว ผมได้ชักชวนชาวบ้านให้เขาเลี้ยงวัวกัน แต่ชาวบ้านเขาบอกว่า ทำนาตั้ง 20-30 ไร่ จะเลี้ยงวัวได้อย่างไร ผมก็เลยทดลองเลี้ยงเอง ผมทำนา 70 ไร่ ทีแรกซื้อวัวมาเลี้ยง 3 ตัว เป็นแม่วัว เมื่อผมไปนาตอนเช้าผมก็เอารถไปด้วย เอาเคียวไปเกี่ยวหญ้ามาให้วัวกินทุกวันจนชาวบ้านเห็นว่าผมทำได้ ผมเลี้ยงวัว 3 ปีจากแม่วัว 3 ตัว ปัจจุบันมีวัว 11 ตัว ซึ่งผมคิดว่า มันเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี ผมเลี้ยงแม่วัวเมื่อวัวออกลูก ผมเอารกวัวไปหมักทำฮอร์โมน เอาไว้ฉีดข้าวหรือพืชผลต่าง ๆ ได้ผลเป็นอย่างดี เป็นฮอร์โมนที่ช่วย ให้พืชเขียวงาม ส่วนขี้วัวก็นำมาทำปุ๋ยใส่ข้าวหรือต้นไม้ มีการปลูกหญ้าไว้ให้วัวกิน โดยการใช้ที่ดอนปลูกหญ้า

ส่วนใหญ่ชาวบ้านคิดว่า การ เลี้ยงวัวต้องมีพื้นที่กว้าง ๆ เหมือนเมื่อก่อน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เราสามารถเลี้ยงแบบ ง่าย ๆ โดยการทำคอกให้อยู่เฉพาะที่ไม่ต้องปล่อยให้มันออกไปเพ่นพ่าน แต่เราต้องเกี่ยวหญ้ามาให้มันกิน จึงไม่ต้องใช้พื้นที่มากก็เลี้ยงได้

“เพียงแต่เราต้องขยันหาหญ้าหรือใช้ที่ดอนทำหญ้าไว้เพื่อเกี่ยวมาเลี้ยงวัว” เขาย้ำ

ถ้าเราเลี้ยงวัว 2 ตัว เราลงทุน 20,000 บาท คือ ซื้อวัวตัวละ 10,000 บาทเป็นวัวผู้ เรียกว่า วัวขุน วัว 2 ตัว ปลูกหญ้า 2 งานหรือเกี่ยวหญ้าจากที่ว่างเปล่าอื่น ๆ หรือเก็บฟางก็เพียงพอให้วัวแล้ว เลี้ยง 18 เดือนก็ขายได้ตัวละ ประมาณ 25,000 บาท

หากว่าเป็นวัวตัวเมียก็ต้องลงทุน เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยแต่คุ้ม คือ ถ้าเราเลี้ยงวัวตัวเมียราคาตัวละประมาณ 20,000 บาท แต่เราจะได้ลูกวัวทุกปี ส่วนแม่วัวตอนที่มันออกลูกเรา จะได้รกของมันเอามาหมักเป็นฮอร์โมน เอาไว้ใช้ในนาหรือฉีดพ่นพืชผักต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยการนำเอารกวัวมาหมัก รกวัว 1 ตัวจะหนักประมาณ 4 กก. เอากากน้ำตาลใส่ 2-4 กก. อีเอ็ม 1 ลิตร น้ำเปล่า 18-20 ลิตร หมักไว้ 3 เดือนนำมาใช้ได้ อัตราส่วนการใช้ 30-50 ซีซี ต่อน้ำ 20-25 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน จะช่วยให้พืชเขียวงามดีมาก ขี้วัวนำมาทำปุ๋ยหมักอัดเม็ดใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ผลเป็นอย่างดี

เห็นไหมว่า เขาทำได้ดีทีเดียว มีแนวคิดที่อิงไปกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ...ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่ ผู้ใหญ่บ้านสมพงษ์ อ้นชาวนา โทร.08-9437-5924.

'สุโขสโมสร'

'กระเจี๊ยบ'...มากคุณค่าสารพัดประโยชน์

หลาย คนคงเคยดื่มน้ำกระเจี๊ยบสีแดงสวยสดงดงาม รู้ไหมว่ามันมีสรรพคุณทางยาด้วย ดังนี้...รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ ช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ นำกลีบเลี้ยงและกลีบรองมาตากแห้ง บดเป็นผงละเอียด ชงกับน้ำร้อนครั้งละ 1 ช้อนชา ดื่ม 3 เวลา เช้า กลางวันและเย็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ แก้อาการขัดเบา เป็นยากัดเสมหะ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาทำขนมเป็นแยม เยลลี่ แกงส้มกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเชื่อม กระเจี๊ยบแช่อิ่ม...เห็นไหมสามารถนำมาทำได้ตั้งหลายอย่าง

หมายเหตุ กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย

กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบ ขอบใบเรียบ บางครั้งมีหยักเว้า 3 หยักด้วยกัน ดอกสีชมพูตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม เมล็ดเอาไว้ภายใน

กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสงที่สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบน้ำขัง ใช้วิธีปลูกในแปลงปลูก โดยหยอดเมล็ดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อกระเจี๊ยบแดงเป็นต้นอ่อนอาจถอนทิ้งหลุมละ 2-3 ต้น เพื่อให้ไม่แน่นมากนัก ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นจะปล่อยตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ อาจปลูกในพื้นที่แปลง ข้าวโพด เมื่อปลูกข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยข้าวโพด แล้วนำใส่เครื่องหยอดพ่วงกับรถไถเดินตาม หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้วกระเจี๊ยบแดง อยู่ในช่วงออกดอกพอดี

พันธุ์ที่ใช้ปลูกคือพันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร เนื้อหนา มีสีแดงเข้มจนถึงม่วงลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างหนา เนื้อบาง มีสีแดงสด ลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างบาง การเก็บเกี่ยวนั้นควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง

ดอกกระเจี๊ยบที่เก็บเกี่ยวได้ให้นำมากระทุ้งให้กลีบดอกและกระเปาะเมล็ดหลุด ออกจากกันโดยใช้เหล็กกระทุ้ง และนำกลีบดอกที่กระทุ้งได้มาตากในภาชนะที่สะอาด ไม่มีฝุ่น ตากแดดประมาณ 5-6 วัน หรืออบให้แห้งสนิท จึงทยอยเก็บ ส่วนกระเปาะเมล็ดให้แยกตาม เมื่อแห้งสนิทให้ร่อนเมล็ดออก นำไปจำหน่ายได้เช่นกัน

เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า ณ บัดนี้ ทางราชมงคลธัญบุรีเขาประดิษฐ์ เครื่องแกะดอกกระเจี๊ยบ เพื่อช่วยให้เกษตรกรลดขั้นตอนการผลิตกระเจี๊ยบแห้งลง อันนี้เป็นฝีมือนักศึกษาคือ นายพุธวงค์ นาทอง และ นางสาววิไลพร คำงาม เป็นนักศึกษาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่พวกเขาคิดสร้างเครื่องนี้ขึ้น ก็เพื่อลดแรงงานคนในการแกะดอกกระเจี๊ยบ และเพิ่มปริมาณการผลิตในเวลาเดียวกัน เครื่องนี้จะประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนของการลำเลียง และ ส่วนของการเจาะเอาเมล็ดกระเจี๊ยบออกจากกลีบดอก แม้ใน การป้อนดอกกระเจี๊ยบจะยังใช้มืออยู่ แต่ก็สามารถ ทำงานได้เร็ว และไม่ทำให้ผู้แกะต้องเจ็บมืออีก ต่อไป

ผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โทร.0-2549-3328.

อุบลวรรณะ

'เปิดบ้านรักษ์นก' ที่บางปู

รณรงค์อนุรักษ์ป่าชายเลนต่อเนื่อง

การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ร่วมฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลนให้กลับคืนสู่ ความอุดมสมบูรณ์ โดยจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ในโครงการ “รักษ์ป่าชายเลนกับการท่าเรือฯ” ขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันก่อนที่สถานตากอากาศบางปู เป็นสถานตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาเป็นเวลานานและเป็นสถานพักฟื้น พักผ่อน ของกรมพลาธิการทหารบก

การปลูกป่าชายเลนที่บางปูในครั้งนี้ มีหน่วยงาน องค์กร ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่รอบบริเวณสถานตากอากาศให้ความสนใจและร่วมมือร่วม ใจในการปลูกป่าชายเลนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็ก ๆ นักเรียนจากโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณ จ.สมุทรปราการ ที่สนุกและมีความสุขกับการลุยโคลนปลูกต้นโกงกาง นับเป็นการดีที่การท่าเรือฯได้จัดโครงการปลูกป่าชายเลนขึ้นมา ด้วยจะทำให้อนาคตของชาติเหล่านี้ มีจิตสำนึกในการหวงแหนและอนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ

และล่าสุด นาง สุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) รักษาการแทนผู้อำนวยการ กทท. เปิดเผยว่า กทท. ได้จัดกิจกรรม “เปิด
บ้านรักษ์นก” ขึ้นระหว่าง

วันที่ 19-21 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัด สมุทรปราการ เพื่อเป็นกิจกรรมรณรงค์และปลุกจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนและสิ่ง แวดล้อมตามนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (csr) ของ กทท.

ซึ่งกิจกรรมภายในงานดังกล่าวจะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับชีวิตนกน้ำและนก ชายเลน แสดงภาพถ่ายนกโดยช่างภาพชื่อดัง การอบรมบรรยายให้ความรู้ในการถ่ายภาพและกิจกรรมดูนกโดยวิทยากรชื่อดัง รวมทั้งการออกร้านจำหน่ายของที่ระลึก อุปกรณ์กล้องสำหรับดูนกและการถ่ายภาพ โปสการ์ด ของที่ระลึก ภาพวาด และภาพถ่าย แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่เข้าชมงานและร่วมกิจกรรมด้วย

ทั้งนี้การจัดงาน “เปิดบ้านรักษ์นก” ดังกล่าว กทท. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ สถานตากอากาศบางปู องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF สำนักงานประเทศไทย) ตลอดจนสถาบันการศึกษาในการจัด กิจกรรมดังกล่าว

“บ้านรักษ์นก” เป็นหอดูนกและศึกษาธรรมชาติที่ กทท. ให้การสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างแก่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกอง ทัพบกฯ และ WWF สำนักงานประเทศไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาชีวิตนกชายเลนและนกอพยพที่มาอาศัยบริเวณป่าชายเลน แก่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยว เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและชีวิตนกที่มีความ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศป่าชายเลนอันเป็นกิจกรรมสานต่อวัตถุ ประสงค์ในการรณรงค์อนุรักษ์ป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมในโครงการ “รักษ์ป่าชายเลนกับการท่าเรือฯ” ที่ กทท. ได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ 14 ไร่ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู) ไปเมื่อประมาณเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา

และบ้านรักษ์นกได้มีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจศึกษาหรือดูพฤติกรรมของ นกที่อาศัยหากินตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลนได้ดูอย่างเต็มที่และใกล้ชิด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ได้รับการจัดสร้างขึ้นมาเพื่อการดูนกที่ถูกต้องตาม หลักการ ไม่เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตของนก นับเป็นอีกรายการที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยได้เข้าใจและรู้จัก พร้อมรักและหวงแหนป่าชายเลนมากขึ้นอย่างควรแก่การสนับสนุนทีเดียว

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นิคมสหกรณ์แม่แตง

จาก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การประกอบอาชีพอย่างพออยู่พอกิน โดยอาศัยการผลิตเพื่อให้เกิดในครัวเรือน และเหลือจากการใช้ในครัวเรือนก็นำไปจำหน่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้ เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ได้มีแนวพระราชดำรัสให้ดำเนินการเกษตรผสมผสาน ตามแนวทฤษฎีใหม่

และได้ดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ตามศูนย์ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทดลอง การผลิตทั้งพืชและสัตว์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธานและดำเนินตามรอยเบื้องพระ ยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างได้น้อมนำพระราชดำริไปปฏิบัติใช้และหนึ่งในนั้นก็ มีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยเฉพาะนิคมสหกรณ์แม่แตง สำนัก งานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดที่ดินให้ราษฎรในเขตท้องที่อำเภอแม่แตงกว่า 12,700 ไร่ ในสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขา ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณน้ำค่อนข้างจำกัด ทำให้สมาชิกและราษฎรบริเวณใกล้เคียง ประสบปัญหาด้านการประกอบอาชีพ ขาดการจัดการดินและทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นิคมสหกรณ์แม่แตงจึงได้จัด ทำโครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในเขต นิคมสหกรณ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา โดยใช้พื้นที่ส่วนกลางของนิคมสหกรณ์แม่แตง จำนวน 50 ไร่ แล้วดำเนินการปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง

มีการคัดเลือกสมาชิก ราษฎรหรือสมาชิกในครัวเรือนหมุนเวียนเข้าเรียนรู้ และปฏิบัติจริงในแปลงสาธิต มีการมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากที่ดินทำกิน ประกอบอาชีพการเกษตร และปรับเปลี่ยนทัศนคติแนวคิดตลอดจนวิธีการผลิตมาเป็นการเกษตร โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ภูมิปัญญาและวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการลดต้น ทุนการผลิต เพิ่มรายได้ ฝึกนิสัยในการขยัน ประหยัด อดทนและอดออม อันจะส่งผลให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตในครอบครัวที่ดีขึ้น มีการดำรงชีวิตแบบพอมีพอกินและพึ่งตนเอง มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน มีผลผลิตเหลือเพื่อจำหน่าย เสริมสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว และสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับการครองชีพ ตลอดทั้งเป็นการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งแล้วนำไปขยายผลต่อไปยังกลุ่มคนอื่น ๆ เป็นรูปแบบเครือข่ายกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มการผลิต ตลอดทั้งแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกินมีประสิทธิภาพ และเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศชาติ

วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่และปรัชญา เศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร โดยให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ เข้ามาเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงและเป็นแหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรใน พื้นที่และเกษตรกร ทั่วไป เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกให้รู้จักความขยัน ประหยัด อดทน และอดออมในการประกอบอาชีพ

ตลอดปีงบประมาณ 2551 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพที่สมาชิกสนใจ เป็นที่ต้องการของตลาดและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการขยายองค์ความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพเดิมให้เข้มแข็ง เพิ่มเติมอาชีพใหม่ ที่หลากหลาย และเพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพ จำนวน 15 กิจกรรมด้วยกัน ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงโคขุน การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงสุกร การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงแพะ การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงกบ การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงปลาในกระชัง การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเรียนรู้ด้านการเพาะเห็ด การเรียนรู้ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ การเรียนรู้ด้านการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน การเรียนรู้ด้านการปลูกเสาวรส การเรียนรู้ด้านการปลูกยางพารา การเรียนรู้ด้านเตาเศรษฐกิจประหยัดพลังงาน การเรียนรู้ด้านปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ การเรียนรู้ด้านบ่อแก๊สชีวภาพ และแปลงสาธิตพืชพลังงานทดแทน

ล่าสุดทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจรโดยนำคณะผู้สื่อ ข่าวจากส่วนกลางเดินทางเข้าศึกษาการดำเนินงานของโครงการฯ ซึ่งหลายท่านให้ความสนใจกับการคัดเลือกเกษตรกรสมาชิกนิคมสหกรณ์ หรือบุคคลในครอบครัวสมาชิกว่ามีขบวนการในการคัดเลือกอย่างไร ก็พบว่าประเด็นสำคัญอันดับหนึ่งอยู่ที่ความสนใจและการยอมรับของสมาชิกที่จะ เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติ จากนั้นก็ทำความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด ขึ้นของโครงการ อาทิ การเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ตามจำนวนที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ศูนย์เรียนรู้ได้กำหนดขึ้น และหลังจากผ่านการฝึกอบรมภาควิชาการแล้ว ก็จะต้องเข้ารับการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง ภายใต้การให้คำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานบูรณาการที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละ ด้าน

ขณะเดียวกันเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ฯ จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในด้านเทคโนโลยีการประกอบอาชีพที่ได้ ศึกษามาให้กับเกษตรกรรุ่นต่อ ๆ ไปที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ต่อไปด้วย

จากการพบปะกับเกษตรกรหลายราย ในวันดังกล่าวพบว่า ต่างมีความสุขและพึงพอใจกับการได้เข้ามาศึกษาในศูนย์แห่งนี้และต่างก็ให้ ความมั่นใจในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แล้ว โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน.

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ชนะเลิศการประกวดหญ้าแฝก

หญ้าแฝกจัดเป็นหญ้าเขตร้อนที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งในประเทศไทยจะพบหญ้าแฝกขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทั่วไปจากที่ลุ่มจน ถึงที่ดอน สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria zizanioides เป็นพืชตระกูลหญ้าขึ้นเป็นกอหนาแน่น เจริญเติบโตโดยการแตกกออย่างรวดเร็ว เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 0.5 ถึง 1.5 เมตร ลักษณะใบแคบยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 75 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง

หากนำมาปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวขวางแนวลาดเทของพื้นที่ กอซึ่งอยู่เหนือดินจะแตกกอติดต่อกันเหมือนรั้วต้นไม้ สามารถกรองเศษพืชและตะกอนดิน ซึ่งถูกน้ำชะล้างพัดพามาตกทับถมดินติดอยู่กับกอหญ้าเกิดเป็นคันดินตาม ธรรมชาติได้ หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึกเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกทางด้านข้าง และมีจำนวนรากมากจึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันแน่นหนาเสมือนม่านหรือกำแพงใต้ดิน สามารถกักเก็บน้ำและความชื้นได้ ระบบรากแผ่ขยายกว้างเพียง 50 เซนติเมตร โดยรอบกอเท่านั้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชที่ปลูกข้างเคียง จัดเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ดินมีความชื้นและ รักษาหน้าดิน เพื่อใช้สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ

การใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นวิธีการที่ง่าย และเป็นการนำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรกรรมในเขตพื้นที่การเกษตรน้ำฝนให้มีความ มั่นคงและยั่งยืน สามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่สองข้างของทางคลองชลประทานอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป่าไม้ ป้องกันขอบตลิ่ง คอสะพาน ไหล่ถนนพังทลาย เป็นต้น

และตลอดมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายหลายแห่งได้นำหญ้าแฝกมารณรงค์เพื่อการ ปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ พร้อมกันนี้ก็มีแนวทางในการรณรงค์หลากหลายรูปแบบเพื่อก่อให้เกิดการร่วมแรง ร่วมใจในการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ดินอย่างล่าสุด นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เปิดเผยว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมพัฒนาที่ดิน จัดประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2551 ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน สถานศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่จริง และเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทการปลูก 2. ประเภทส่งเสริมการปลูก 3. ประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่จากใบหญ้าแฝก

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏว่า นายสมโชค สำราญ เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดประเภทการปลูก โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้ส่งเข้าประกวดในนามของเกษตรกรผู้ปลูก ด้วยเป็นบุคคลที่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่จริง ณ พื้นที่บ้านโคกอิฐ-โคกใน หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่ 12 ไร่ โดยเริ่มปลูกตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมาเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินบนร่องสวน รักษาความชุ่มชื้นในดิน ลดการงอกของวัชพืช และเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โดยมีการปลูก 3 รูปแบบ คือ ปลูกบนพื้นที่แนวขอบคันยกร่อง เพื่อป้องกันดินขอบร่องพังทลาย ปลูกระหว่างแถวร่วมกับพืชไร่ และปลูกล้อมรอบพื้นที่ปลูกพืชผักและไม้ผล เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุแก่ดิน ด้วยวิธีการตัดใบหญ้าแฝกมาคลุมดิน จึงทำให้ นายสมโชค สำราญ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทการปลูก ผลงานบุคคล รับรางวัลเงินสด 90,000 บาท พร้อมโล่รางวัลพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเกียรติบัตร

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จาก แนวพระราชดำริหญ้าแฝก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานในการแก้ไขการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ราษฎรสามารถนำไปขยายผลและปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง จนทำให้สามารถฟื้นฟูดินให้ มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตจากการเกษตรดีขึ้น และที่สำคัญมีรายได้เพิ่มขึ้น และ พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจากการที่ได้มีการจัดประกวดฯ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้พิสูจน์ได้ว่า พระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก ได้ส่งผลการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน”

http://www.pikunthong.com/

ขึ้นเชียงใหม่แวะแม่แตงเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ณ วันนี้พื้นที่ภาคเหนืออย่างเชียงใหม่ดูจะยังอยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วไป ไม่น้อย เนื่องจากสภาพอากาศยังเย็นเป็นที่ต้องการของใครต่อใครอยู่ เมื่อเดินทางขึ้นไปและหากมีเวลาก็ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในนิคมสหกรณ์แม่แตงดูแล้วจะเข้าใจทันทีว่าทำไม ประชาชนในพื้นที่แห่งนี้จึงไม่ทุกข์ร้อนกับภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้เหมือนกับคน เมือง หรือคนที่เข้าเมืองเพื่อหางานทำ

นิคมสหกรณ์แม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกให้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อไม่นานมานี้ กิจกรรมภายในศูนย์มีหลายอย่าง โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี อาทิ การเลี้ยงหมู เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาในกระชัง เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเพาะเห็ด และการปลูกผักปลอดสารพิษ ส่วนที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวเกิน 1 ปี ก็มี การปลูกเสาวรส การเลี้ยงโคเนื้อ และการเลี้ยงแพะ นอกนั้นเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกษตรกรประหยัดรายจ่าย โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มาทำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า อาทิ การปลูกพืชสมุนไพร การผลิตน้ำส้มควันไม้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และการทำแก๊สชีวภาพ เป็นต้น

ทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ภายหลังการจัดตั้งก็ทำหน้าที่โดยการ จัดอบรมเกษตรกรที่เป็นสมาชิกรุ่นแรก 30 คน ให้มาเรียนรู้การทำเกษตรแบบพอเพียง โดยพึ่งพิงเทคโนโลยีน้อยที่สุด เพื่อให้สามารถลดรายจ่าย ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงยั่งยืน เข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้สถาบันสหกรณ์ที่สังกัดอยู่เข้มแข็งไปด้วย

จุดประสงค์หลักของศูนย์คือ ให้ครัวเรือนอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยมีอาหารการกินตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปซื้อไปหา และถ้ากินใช้อยู่ในครัวเรือนจนเหลือแล้วสามารถนำไปขายสร้างรายได้ ขณะเดียวกันทางศูนย์ฯ ก็จะสอนให้ทำบัญชีเรียนรู้การรับ-จ่าย ประจำวัน และประจำเดือน จึงเป็นผลให้ทุกคนรับรู้ถึงสถานะของตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การออมอย่างถูกวิธีจึงเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

นิคมสหกรณ์แม่แตง จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2513 โดยอาศัย พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มีพื้นที่ประมาณ 14,798 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 แปลง คือ แปลงที่ 1 พื้นที่ประมาณ 6,948 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลสบเปิง และตำบล ขี้เหล็ก แปลงที่ 2 พื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลสันมหาพน และตำบลขี้เหล็ก แปลงที่ 3 พื้นที่ประมาณ 1,750 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลแม่แตง แปลงที่ 4 พื้นที่ประมาณ 2,100 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลอินทขิล มีอำนาจหน้าที่จัดสรรที่ดินของรัฐภายในแนวเขตที่ดินตามแผนที่ท้ายพระราช กฤษฎีกา ตามจำนวนดังกล่าวให้แก่ ราษฎรที่ไม่มีที่ทำกินหรือมีน้อย ไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ และส่งเสริมแนะนำการบริหารงานการจัดการสหกรณ์นิคมแม่แตง จำกัด

โครงการฝึกอบรมอาชีพให้กับเกษตรกรของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ ได้ดำเนินการทั้งการอบรมในภาคทฤษฎี การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพได้ อย่างถูกต้องและประสบผลสำเร็จ ซึ่งโครงการที่จัดฝึกอบรมนั้น ได้ดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เกษตรกรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันตัวเองที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทนในการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา มีความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สำหรับท่านที่สงสัยและยังมองไม่เป็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถทำให้ประชาชนมีกินอยู่ดีและมีเหลือเพื่อขาย สร้างรายได้เข้าครอบครัวอย่างไม่กระทบกระเทือน แม้สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังย่ำแย่อยู่ก็ตามนั้นเป็นอย่างไร ก็ลองแวะเข้าไปในพื้นที่ที่กล่าวถึงนี้แล้วคุยกับสมาชิกของศูนย์ฯ ท่านก็จะรู้อย่างเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะที่แห่งนี้มีตัวอย่างให้ได้เห็นอย่างชัดเจนทีเดียว.

จากฏีกาของราษฏร บ้านคำบก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

วันนี้มีน้ำเพียงพอเพื่อเพาะปลูก

จังหวัดมุกดาหารเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องน้ำมายาวนาน ยามหน้าฝนก็มีน้ำในปริมาณมากไหลทะลักเข้าสู่แปลงเพาะปลูกจนเสียหาย เข้าสู่หน้าแล้งพื้นดินก็แห้งขอดแม้แต่สัตว์เลี้ยงก็ไม่มีจะให้ดื่มกิน มาถึงวันนี้ปัญหาดังกล่าวในบางพื้นที่อย่างที่อำเภอคำชะอีน่าจะเบาบางลงไป ได้มากทีเดียว ด้วยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ ร่วมกับกรมชลประทาน จัดพิธีส่งมอบโครงการฝายทดน้ำห้วยปุ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 27 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา เพื่อมอบให้กับราษฎรที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มและการใช้ประโยชน์จากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด

โครงการฝายทดน้ำห้วยปุ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดมุกดาหาร เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยปุ่ง พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2550 ตามที่นายพอน สลางสิงห์ ราษฎรบ้านคำบก หมู่ที่ 4 ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานความช่วยเหลือในการขุดลอกลำห้วยปุ่งพร้อมก่อสร้างฝายน้ำ ล้นบริเวณบ้านห้วยลำโมง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค–บริโภคและทำการเกษตร ซึ่ง สำนักงาน กปร. และกรมชลประทานได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นสมควรช่วยเหลือราษฎรโดยการสร้างฝาย ทดน้ำห้วยปุ่ง และฝายทดน้ำห้วยลำโมง พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ที่บริเวณบ้านห้วยลำโมง หมู่ที่ 3 ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
และในปีงบประมาณ 2551 สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจัดหาน้ำช่วยเหลือราษฎรบ้านห้วยลำโมง โดยทำการก่อสร้างฝายทดน้ำห้วยปุ่ง 1 แห่ง สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตรในฤดูฝนได้ 800 ไร่ และทำการก่อสร้างฝายทดน้ำป่าภูเขากวางเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง

โดยสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำการ เกษตรในฤดูฝนได้อีก 500 ไร่ ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตรของบ้านห้วยลำโมงทั้งหมด ซึ่งต่อไปจะทำให้ราษฎรมีน้ำใช้สำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในฤดู แล้งอย่างเพียงพอ รวมทั้งการก่อสร้างถังเก็บน้ำให้ราษฎรบ้านห้วยลำโมงและที่พักสงฆ์ป่าภูเขา กวางเพิ่มเติมรวม 2 แห่ง จะเป็นการเสริมน้ำให้กับระบบประปาของตำบลคำบกและระบบประปาของที่พักสงฆ์ป่า ภูเขากวางที่มีอยู่เดิม เพื่อใช้อุปโภค–บริโภคในฤดูแล้งอีกด้วย

ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ทั้ง 2 แห่งเสร็จเรียบร้อยแล้วและในโอกาสนี้ราษฎรผู้ที่ได้รับประโยชน์ได้ตระหนัก ถึงพระมหากรุณาธิคุณและเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการจึงได้รวม ตัวกันจัดให้มีพิธีส่งมอบโครงการฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อราษฎรในพื้นที่โดยตรง ทั้งนี้จะทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคีในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยจะทำให้ราษฎรบ้านห้วยลำโมงมีแหล่งน้ำในการอำนวยประโยชน์สำหรับการอุปโภค -บริโภค และเป็นแหล่งน้ำสำหรับเพาะพันธุ์ปลาและประมงหมู่บ้าน

อันจะเป็นรายได้และอาหารโปรตีนเสริมให้กับราษฎร รวมทั้งส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และรักษา สภาพต้นน้ำลำธารธรรมชาติ ทำให้เกิดความชุ่มชื้นแก่พื้นดินและป่าไม้ ที่สำคัญราษฎรสามารถทำการเกษตรในพื้นที่ 550 ไร่ได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งจะช่วยให้พระภิกษุ-สามเณรมีน้ำไว้ใช้อุปโภค-บริโภค ได้อย่างเพียงพอ การดำรงชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความรักถิ่นฐานสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงยั่งยืน อันเป็นผลจากพระมหากรุณาธิคุณใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นั่นเอง.

อ่างเก็บน้ำห้วยยัดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2543 นายบุญช่วย บัวเย็น ราษฎร ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้มีหนังสือขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างอ่าง เก็บน้ำที่ลำห้วยยัด เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งและช่วยเหลือ พื้นที่การเกษตรของราษฎรหมู่ที่ 12 บ้านผาลาด ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จ.พะเยา

ต่อมาทางสำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือไปยังกรมชลประทานขอให้พิจารณาศึกษา ความเป็นไปได้ตามที่ราษฎรร้องขอ ทางกรมชลประทานได้เข้าไปศึกษารายละเอียดของพื้นที่พบ ว่ามีความเป็นไปได้สำหรับการดำเนินการตามที่ ราษฎรร้องขอ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ดังกล่าวจึงเกิดขึ้น พร้อมกันนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยยัดไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2544

อ่างเก็บน้ำห้วยยัดตั้งอยู่ที่บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จ.พะเยา สร้างเพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือ ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ ให้มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร กรมชลประทานเป็นประเภทของโครงการการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรและการอุปโภค บริโภค เป็นการก่อสร้างทำนบดิน ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 200 เมตร สูง 14 เมตร พร้อมระบบส่งน้ำ ซึ่งสามารถช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานได้ 2,100 ไร่ โดยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สามารถจัดหาแหล่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทาน 2,100 ไร่ โดยมีความจุที่ระดับเก็บกัก 1.06 ล้าน ลูกบาศก์เมตร

ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สามารถช่วยเหลือราษฎร เพื่อใช้อุปโภคบริโภคและใช้สอยประเภทอื่น ๆ อีกกว่า 117 ครัวเรือน ประชากรกว่า 565 คน ที่สำคัญได้เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงช่วงหน้าฝน และเมื่อถึงหน้าแล้งก็ยังคงมีน้ำให้ได้ใช้อย่างต่อเนื่อง ยังผลให้ราษฎรสามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี ก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด

ประเภทพืชที่ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเป็นจำพวกข้าวนาปี เมื่อถึงฤดูแล้งก็ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งปลูกได้มากถึง 2 รุ่น อันเป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าพื้นที่นั้นมีน้ำเพียงพอ โดยเฉพาะน้ำที่เป็นต้นทุนพื้นฐานของระบบน้ำตามธรรมชาติ คือน้ำใต้ดิน ด้วยเหตุนี้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงสามารถทำได้ นอกจากนี้ก็ยังมีการปลูกหอมแดงเป็นจำนวนไม่น้อยในแต่ละปีอีกด้วย

ที่สำคัญและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะมีปัญหาเรื่องของน้ำ คือราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยยัดแห่งนี้ มิได้นั่งและนอนรอน้ำจากอ่างให้ไหลลงมาในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองเพียงอย่าง เดียว หากแต่มีการจัดตั้งกันขึ้นมาเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ช่วงไหนเวลาใด ราษฎรรายใดต้องการน้ำก็จะปล่อยลงไปให้ เมื่อเพียงพอก็จะหยุดปล่อย จึงทำให้น้ำทุกหยดจากอ่างเก็บน้ำได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มคุณค่า

และในระหว่างที่พื้นที่เพาะปลูกต้องการใช้น้ำน้อย น้ำที่เก็บกักอยู่ในอ่างก็จะซึมซับไปโดยรอบบริเวณของอ่างเก็บน้ำยังผลให้ พื้นที่โดยรอบมีความชุ่มชื้นอย่างเต็มที่ จึงเป็นผลให้น้ำใต้ดินมีปริมาณที่มากพอเพื่อการเพาะปลูกพืชที่ไม่ต้องการน้ำ แบบไหลผ่านอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั่นเอง

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎร ให้ได้มีได้ใช้ไปชั่วชีวิตและตลอดชั่วลูกชั่วหลาน แบบไม่ต้องกังวลเรื่องอดอยากลำบากยากแค้นแสนเข็ญเหมือนเช่นในอดีตกันอีกต่อไป

ห้วยปลาหลด อ.แม่สอด จ.ตาก ที่นี่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ

หมู่ บ้านห้วยปลาหลด อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านมีการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนมีการจัดสรรพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมมีการ ร่วมกันปลูกป่าและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ รักษาความชุ่มชื้นของป่าด้วยฝายชะลอความชุ่มชื้นตามแนวพระราชดำริ และปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่ออยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า

มีพื้นที่ที่เป็นหมู่บ้าน 200 ไร่ พื้นที่ป่าหลาย พันไร่ เดิมจะเป็นป่าหญ้าคา เพราะมีการตัดไม้มากเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีแต่เขาหัวโล้น และต่อมาในปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้คนไทยทั้งประเทศช่วยกันปลูก ป่าและรักษาป่าเพื่อประโยชน์ในการทำกิน แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังไม่เข้าใจคงแผ้วถางเพิ่มพื้นที่เพื่อเพาะปลูก ดังเดิม ในที่สุดความแห้งแล้งจึงเข้ามาเยือน จวบจนถึงปี พ.ศ. 2527 จึงเริ่มมีการปลูกป่าชุมชนขึ้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) ได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้น โดยดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่เสื่อมโทรมทั่วประเทศ และที่หมู่บ้านห้วยปลาหลดแห่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของโครงการด้วย โดยการให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ นับตั้งแต่การปลูก ดูแลบำรุงรักษา ป้องกันไฟป่า จนต้นไม้เจริญเติบโตให้ร่มเงาและความชุ่มชื้นกับพื้นที่แบบวงกว้าง ทาง กฟผ. สนับสนุนงบประมาณและต้นกล้า ระหว่างนั้นชาวชุมชนจึงมีรายได้จากการปลูกและดูแลรักษาป่า โดยไม่ต้องเปิดพื้นที่ป่าเพื่อเพาะปลูกอีก

ปี พ.ศ. 2549 น้ำธรรมชาติในพื้นที่จึงกลับมา และไหลตลอดทั้งปี รวมเวลาสำหรับการฟื้นฟูพื้นที่แห่งนี้ร่วม 20 กว่าปี มาถึงวันนี้ประชาชนก็ไม่ต้องลำบากในเรื่องน้ำเพื่อการทำกินอีกต่อไป อาชีพโดยทั่วไปของชุมชนแห่งนี้ส่วนหนึ่งรับจ้างปลูกป่าให้กับอุทยานฯ (หน่วยต้นน้ำดอยมูเซอ) ส่วนหนึ่งทำการเกษตรโดยใช้พื้นที่ป่าที่ปลูกขึ้นมาแบบไม่แผ้วถางพื้นที่ ปลูกแบบแซมใต้ต้นไม้ใหญ่ให้เป็นกลุ่มไม้ชั้นสามของระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเภทกาแฟพันธุ์ต่าง ๆ และ เลี้ยงสัตว์ เมื่อถึงหน้าแล้งทำหน้าที่รับจ้างดับไฟป่า หน้าฝนก็รับจ้างปลูกป่า และเก็บของป่าขาย เช่น ลูกเนียง หน่อไม้ กาแฟ

สำหรับลูกเนียงนั้นที่แห่งนี้จะออกลูกก่อนพื้นที่ทางภาคใต้ จึงทำให้ลูกเนียงจากดอยแห่งนี้ล่องลงไปจำหน่ายยังภาคใต้ โดยมีตลาดหัวอิฐ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแหล่งขายแหล่งใหญ่ จากนั้นก็กระจายไปทั่วพื้นที่ภาคใต้ หลายท่านจึงมารู้ทีหลังว่าทำไมภาคใต้จึงมีลูกเนียงให้ได้บริโภคทั้งปี ทั้ง ๆ ที่ต้นเนียงที่ภาคใต้ไม่ได้ออกลูกทั้งปี

ทั้งนี้ก็เนื่องจากสภาพป่าของห้วยปลาหลดมีความสมบูรณ์ดีบรรยากาศจึงไม่ต่าง จากพื้นที่ฝนแปดแดดสี่อย่างภาคใต้แต่ประการใด ปัจจุบันบริเวณเชิงเขาชาวชุมชนจะเข้าไปสร้างฝายเล็ก ๆ โดยทั่วไปซึ่งมีอยู่กว่า 500 ฝาย แต่ละฝายจะต่อท่อน้ำที่ใช้ทั้งวัสดุทางธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่และท่อพีวีซี มาเป็นอุปกรณ์ส่งน้ำเข้าสู่แปลงเพาะปลูก ซึ่งจะปลูกพืชผักทั้งประจำฤดูกาลและถาวร ที่ถาวรก็เห็นจะเป็นฟักแม้ว ที่ปลูกทั้งตัดยอดและเก็บลูก โดยฟักแม้วที่ต้องการเอาลูกทั้งเพื่อทำพันธุ์และจำหน่ายลูกไปประกอบอาหารของ ผู้ซื้อจะปลูกแบบมีนั่งร้านหรือที่เรียกกันในวงการเกษตรว่าค้าง ไว้รองรับโดยให้เถาของฟักแม้วไต่เลื้อยขึ้นไปรับแสงตะวันอย่างเต็มที่ ลูกที่ออกมาก็จะห้อยเรียงรายเก็บได้สะดวก ส่วนที่ตัดยอดจะปลูกแบบติดพื้นดินเป็นกอ ๆ กอหนึ่งมีประมาณ 4-5 ต้น โดยปล่อยให้ยอดแทงออกมาตลอดเวลาแบบแนวดิ่ง ซึ่งจะสามารถเก็บเกี่ยวยอดได้ทุกวัน และการปลูกที่นี่จะไม่มีการใช้สารเคมีแต่ประการใด ด้วยมีน้ำเพียงพอจึงอาศัยน้ำฉีดพ่นแบบธรรมชาติทั้งเช้าและเย็น แมลงที่หวังจะเข้ามาไต่ตอมเพื่อวางไข่ก็จะถูกน้ำชะล้างไปหมดทุกวัน

การปลูกพืชของหมู่บ้านห้วยปลาหลดในทุกชนิดผักจะใช้วิธีการเดียวกันนี้ ฉะนั้นผลผลิตจากพื้นที่แห่งนี้จึงปราศจากสารเคมีอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง และเป็นผลทำให้ผลผลิตที่ออกมาในแต่ละวันไม่พอขายทีเดียว

และที่พื้นที่สามารถเป็นเช่นนี้ได้ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะมีการเข้าไปปลูกป่า เพิ่มพื้นที่ป่า และมีการบริหารจัดการพื้นที่ป่าโดยชุมชนเอง ป่าจึงให้คุณโดยการสร้างความชุ่มชื้นและให้น้ำได้ใช้อุปโภคและบริโภคตลอด ทั้งปีเรื่อยมาจวบจนทุกวันนี้.

บ้านทุ่งกระเทียม จ.พะเยา ชุมชนต้นแบบบริหารน้ำดีเด่น

อ่าง เก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านทุ่งกระเทียม ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา ที่นี่มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อบริหารจัดการน้ำ ในนามของกลุ่มผู้ใช้น้ำและได้รับรางวัลการบริหารจัดการน้ำดีเด่นในเขตภาค เหนือ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้พัฒนาอ่าง เก็บน้ำห้วยไฟแห่งนี้ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาเกษตรครบวงจรโดยมีกรมวิชาการเกษตรดูแล มีการบูรณาการแบบเบ็ดเสร็จ เช่นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง กรมประมงดูแลการส่งเสริมการประมง กรมพัฒนาที่ดินดูแลการพัฒนาที่ดิน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรจัดการแปลงเกษตรแบบขั้นบันได กรมชลประทานดูแลเรื่องระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปยังแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา

ในอดีตก่อนที่จะมีอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ขึ้นมา ราษฎรในพื้นที่มีความยากลำบากมาก เนื่องจากป่าต้นน้ำถูกทำลายทำให้เกิดความแห้งแล้ง ต่อมาราษฎรไม่น้อยกว่า 5 หมู่บ้าน ต้องอพยพไปหาที่ทำกินแห่งอื่น เช่น อ.เชียงของ จ.เชียงราย อ.ท่าวังผา จ.น่าน แต่หลังจากได้ถวายฎีกาขออ่างเก็บน้ำ ราษฎรที่อพยพออกไปก็กลับเข้าสู่ภูมิลำเนาเดิมด้วยพบว่าพื้นที่มีความสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชตามที่ถนัด

ทั้งนี้เมื่อปี 2524 ทางกรมชลประทานได้เข้าสำรวจพื้นที่ภายหลังจากที่ราษฎรได้ฎีกา ขอความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่ามีความเป็นไปได้จึงก่อสร้างทันที เสร็จประมาณต้นปี 2526 จากนั้นปี 2531 ราษฎรในพื้นที่ได้จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้น โดยเริ่มแรกกลุ่มนอกจากทำหน้าที่ด้านการบริหารจัดการน้ำแล้วก็ยังทำหน้าที่ เก็บผลผลิตข้าวจากสมาชิกที่ทำนาได้ผลดีเอามารวมกัน เพื่อให้เกษตรกร รายที่มีผลผลิตไม่ค่อยได้ผลมากู้ยืมไปบริโภคภายในครัวเรือนจนถึงปี 2535 ก็หยุดเก็บ เนื่องจากทุกคนมีข้าวเต็มยุ้งฉางใช้บริโภคได้ทั้งปี ด้วยมีน้ำอุดมสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ดีขึ้นจากที่เคยได้ไร่ละ 40-50 ถัง ก็เพิ่มเป็น ไร่ละ 60-70 ถัง และเป็นผลให้ราษฎรที่จากเดิมหลังเก็บเกี่ยวจะอพยพไปขายแรงงานที่อื่น มา เป็นไม่ต้องห่างเหินครอบครัวอีกต่อไป เพราะเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงประจำฤดูกาลแล้วก็สามารถเพาะปลูกพืชในฤดู แล้งได้อย่างต่อเนื่องทันทีเพราะมีน้ำเพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็น กระเทียม หอมแดง ถั่วลิสงและพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด

วันก่อนคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักราชเลขาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่โดยมีคุณเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา หัวหน้าส่วนราชการและราษฎรในพื้นที่ให้การต้อนรับและนำ ชม

พบว่าภายหลังจากที่มีการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่ป่าบริเวณทางตอนเหนือของอ่าง เก็บน้ำ เป็นผลให้น้ำในอ่างเก็บน้ำมีเพียงพอสำหรับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ และในตอนนี้ทางจังหวัดพะเยาได้เพิ่มความรู้ด้านงานวิชาการเรื่องของการเพาะ ปลูกกระเทียมและพืชหลัก ต่าง ๆ ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ให้กับเกษตรกร เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตในพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าที่ผ่านมา เช่น การจัดการแปลงเกษตรแบบขั้นบันไดอย่างถูกวิธี ระบบส่งน้ำ การปลูกพืชพลังงานทดแทน รวมทั้งเรื่องประมง และเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกันนี้ก็ได้มีการเน้นการดูแลระบบนิเวศของป่าต้นน้ำลำธาร เพราะที่นี่หัวใจคือเรื่องความสมบูรณ์ของต้นน้ำลำธาร โดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาช่วยดูแลจัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่

วันนี้อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมา จากพระราชดำริ ได้ก้าวเข้าสู่คำว่า เป็นแหล่ง บริหารจัดการน้ำที่ราษฎรเป็นผู้ดำเนินการและมีหน่วยงานราชการเป็นพี่เลี้ยง ภายใต้แนวทางการบูรณาการที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับพื้นที่อื่น ๆ ได้นำไปเป็นแบบอย่างเพื่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของตนเองกันอย่าง กว้างขวางต่อไป.

'พลับ' ที่สถานีวิจัยดอยปุยกำลังให้ผลผลิต

สถานี วิจัยดอยปุย ตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 119 ไร่ 2 งาน 2.5 ตารางวา เป็นแปลงทดลอง 74 ไร่ 1 งาน 97.5 ตารางวา สวนนี้นับเป็นสวนประวัติศาสตร์ของการเกษตรบนที่สูง คือเป็นสวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200,000 บาท เพื่อทรงสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาบนที่สูง เพื่อการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการศึกษา วิจัย โดยจัดซื้อสวนผลไม้ของชาวบ้านเพื่อใช้พัฒนาเป็นพื้นที่ในการวิจัย ณ สถานีวิจัยดอยปุย ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งถือเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกและแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพื้นที่ให้สนองพระราชดำริการดำเนินงาน ของมูลนิธิโครงการหลวง และมีการศึกษาวิจัยพืชหลายชนิดก่อนนำไปขยายผลให้แก่เกษตรกรปลูกเชิงพาณิชย์ ต่อไป หนึ่งในนั้นก็มี “พลับ”

ซึ่งล่าสุดได้รับแจ้งจากสถานีวิจัยดอยปุยว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เป็น กิจกรรมสำคัญมาก ๆ ช่วงเวลาหนึ่งของการดูแลรักษาผลผลิตพลับ เนื่องจากเดือนนี้ผลพลับมีการหลุดร่วงบ้างแล้วและเริ่มมีสีนวลขึ้น พร้อมที่จะรับการห่อผล เพื่อป้องกันแมลงศัตรูเข้าทำลาย เช่น การกัดกินของตัวต่อป่า การจิกกินของนก การโฉบกินของค้างคาว หรือแม้แต่การมานั่งแทะกินของกระรอก กระแต การดูแลรักษาช่วงนี้จึงถือว่าสำคัญมากสำหรับผลผลิตที่มีคุณภาพของพลับ ด้วยเป็นช่วงที่ต้องพิจารณาคัดผลเพื่อให้เจริญเติบโตต่อไป หากคัดผลไม่ถูกต้องแล้วไปห่อก็จะทำให้เสียเวลา หรือเมื่อคัดผลถูกต้องแล้วห่อไม่ดีก็ยังคงล่อแหลมต่อการถูกทำลายอยู่ดี ฉะนั้นช่วงระยะนี้จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ปลูกพลับและปรารถนาจะให้ผล ผลิตออกมาสวยงามมีคุณภาพตามที่ต้องการ

“พลับ” เป็นไม้ผลเมืองหนาวประเภทยืนต้นขนาดใหญ่มีการเจริญเติบโตดี ลำต้นมีผิวหยาบกร้าน ขรุขระ สีน้ำตาลแก่ ใบสีเขียวเป็นมัน รูปหัวใจ ดอกคล้ายระฆังสีเหลืองอ่อน มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ส่วนดอกกะเทยนั้นพบน้อยมาก ลักษณะผลมีหลายแบบ เช่น กลม กลมแบน กลมยาวคล้ายรูปกรวย ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อผลจะแข็งเมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม เมล็ดสีน้ำตาลแก่พลับบางชนิดก็มีรสฝาด บางชนิดก็มีรสหวาน เป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็น เพื่อทำให้การพักตัวสิ้นสุดลง แต่ก็ไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัดเกินไป อุณหภูมิที่ลดต่ำอย่างกะทันหันระหว่างต้นฤดูหนาวทำให้เกิดอันตราย ดังนั้น ความเย็นและระยะความหนาวก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดินที่เหมาะก็คือดินร่วนปนทรายควรเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตดี

การขยายพันธุ์พลับทำได้หลายทาง เช่น การเพาะจากเมล็ด การใช้หน่อที่งอกมาจากราก การติดตาและต่อกิ่ง ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมักจะกลายพันธุ์และมีการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ต้นที่ได้จากหน่อที่งอกออกมาจากราก ก็ขยายพันธุ์ได้ช้าและมีจำนวนน้อย ส่วนการติดตาและต่อกิ่งทำได้ง่ายมาก แต่ต้องใช้ต้นตอที่มีระบบรากแข็งแรง พลับเป็นไม้ผลที่มีการผลัดใบ ต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในฤดูหนาวใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนพอถึง เดือนมกราคมใบจะร่วงหมดต้น ต้นพลับจะพักตัวจนถึงเดือนมีนาคมก็จะเริ่มผลิใบขึ้นมาใหม่หลังจากนั้นไม่นาน ก็จะมีการผลิดอกและติดผล ผลจะแก่ในราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

พลับขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด จึงไม่มีปัญหามากนักสำหรับการเลือกที่ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม 6-8x6-8 เมตร ซึ่งควรเริ่มปลูกต้นฤดูฝน การเตรียมหลุมปลูกพลับ ควรขุดให้มีความกว้างยาวลึกด้านละ 0.5x1 เมตร แบ่งดินบนไว้กองหนึ่งดินชั้นล่างไว้อีกกองหนึ่ง นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ เทใส่ลงไปขนาดพอ ๆ กับกองดินบนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นจึงค่อยเอาดินล่างกลบลงไปให้มีระยะสูงกว่าปากหลุมเล็กน้อย นำต้นพลับที่ชำไว้ลงปลูกได้เลย

สนใจต้องการดูการห่อพลับอย่างถูกวิธีช่วงนี้เข้าไปดูได้ที่สถานีวิจัยดอยปุย หมู่ 12 ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หรือโทรศัพท์สอบถามไปก่อนก็ได้ที่ 0-5321-1142 ต่อ 13 สำหรับท่านที่สนใจจะพักค้างแรมที่สถานีวิจัยแห่งนี้ทางสถานีก็มีบ้านพักไว้ บริการในราคาแบบราชการ

พีรศิษฐ์ สมแก้ว

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

'สาหร่ายเซลล์เดียว' ผลิตเป็นอาหารเสริมกุ้ง...ต้มทุนต่ำ

การเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย มีการดำเนินการมาช้านาน โดยเริ่มจากการเลี้ยงกุ้งแบบธรรมชาติ หรือกุ้งแชบ๊วย การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา โดยใช้เทคโนโลยีจากไต้หวันและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่มักประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดส่งผลราคากุ้งตกต่ำ ปัจจุบันเกษตรกรหันมาเลี้ยงกุ้งขาวแทนสามารถทำเงินตราได้มากกว่า 47,000 ล้านบาทต่อปี มีผลทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและสร้างรายได้แก่ท้องถิ่นอีกทั้งยังส่งผลต่อการเกิดต้นทุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตอาหารกุ้ง อุตสาหกรรมห้องเย็น การผลิตกุ้งแช่แข็ง

ดร.วิเชียร ยงมานิตชัย อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยในการนำสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ที่แยกได้มาจากป่าชายเลนของประเทศไทย มาทำการเพาะเลี้ยง และสามารถนำมาสกัด DHA (docosahexaenoic) ที่มีปริมาณสูง จนถือได้ว่าเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีศักยภาพในการผลิตทางอุตสาหกรรม โดยที่ DHA เป็นหนึ่งในกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายพันธะ ในกลุ่มโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันชนิดจำเป็น เนื่องจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงต้องได้รับจากการบริโภคอาหารที่มี DHA ที่ผ่านมาน้ำมันปลาจะ เป็นแหล่งสำหรับการผลิตทางอุตสาหกรรม แต่น้ำมันปลามี DHA อยู่จำกัดคือ ประมาณ 7-14% ทำให้การผลิตต้องใช้ปลาจำนวนมาก และยังมีปัญหาในการสกัดและทำให้บริสุทธิ์ที่ต้องกำจัดคอเลสเตอรอล และสิ่งเจือปนที่เป็นพิษ ปัญหากลิ่นคาวของปลาและความคงตัวทำให้กระบวนการผลิตดีเอชเอมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้การผลิตดีเอชเอคุณภาพสูงทำได้ยากในระดับอุตสาหกรรม อีกทั้งกรดไขมัน DHA ไม่พบในน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม รวมทั้งน้ำมันเมล็ดทานตะวัน ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องในการเสาะหาจุลินทรีย์ ที่จะนำมาเป็นแหล่งทดแทน DHA ทางอุตสาหกรรม และพบว่าสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium นี้มีศักยภาพสูง เนื่องจากการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีปริมาณไขมันสะสมในเซลล์สูง และมีสัดส่วนของ DHA ในไขมันสูงมากกว่า 35% ของกรดไขมันทั้งหมด ซึ่งข้อดีของการผลิต DHA จากสาหร่ายเซลล์ เดียว Schizochytrium อยู่ที่สาหร่ายนี้สามารถสะสมกรดไขมัน ในเซลล์ได้ในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราการเจริญเติบโตสูงในแหล่งอาหารที่ไม่ซับซ้อนมีความหลากหลาย และราคาถูกจึงเป็น การลดค่าใช้จ่ายในด้านวัตถุดิบ การผลิต DHA จากสาหร่าย Schizochytrium สามารถทำได้ตลอดปีไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสภาพภูมิประเทศ สำหรับประเทศไทยมีสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดนี้ที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงไปสู่การผลิต DHA ทางการค้าได้โดยไม่ติดปัญหาทางด้านสิทธิบัตร

ดร.วิเชียร ยังกล่าวต่อไปว่า ปกติกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายพันธะ ในกลุ่มโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันชนิดจำเป็น มีความสำคัญในการช่วยป้องกันและรักษาโรค โดยเฉพาะต่อการพัฒนาการการมองเห็นและการทำงานของสมองในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนถึงทารกแรกเกิด จึงพบว่าในปัจจุบันมีการเสริม DHA ในนมผงเลี้ยงทารกและอาหารสำหรับทารก นอกจากนี้ DHA ยังสามารถนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและตัวอ่อนของปลาทะเลบางชนิด ซึ่งทำให้ปลาที่ได้รับ DHA อย่างเพียงพอในช่วงโตเต็มวัยก่อนที่จะมีการวางไข่ จะทำให้ไข่มีอัตราในการฟักเป็นตัวสูง ตัวอ่อนแข็งแรง ปริมาณของไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์สูง และมีอัตราการรอดชีวิตของตัวอ่อนสูง

จากการวิจัยที่นำ Schizochytrium ไปทดลองกับการเลี้ยงลูกกุ้งกุ้งขาว พบว่าได้ผลที่ดีมาก จึงเชื่อว่า DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium เหมาะที่จะนำมาใช้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งได้เป็นอย่างดี การวิจัยที่จะนำ Schizochytrium ไปเป็นอาหารลูกกุ้งจะลดปัญหาโรคระบาดและการแตกขนาดของกุ้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ทางการแพทย์เชื่อว่ากรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 เป็นสารตั้งต้นการ สังเคราะห์สารคล้ายฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรคบางชนิด ที่ผ่านมาเกษตรกรที่เพาะฟักลูกกุ้งใช้สาหร่าย Chaetoceros sp. หรือ Skeletonema sp. ที่มีแต่ EPA และไม่มี DHA การเสริม DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ในการเพาะเลี้ยงระยะเริ่มแรกจะมีผลทำให้ลูกกุ้งแข็งแรง ลดปัญหาการแตกขนาด และสามารถเติบโตได้ตามปกติเมื่อนำไปเลี้ยงในบ่อดิน นอกจากนี้ DHA จาก Schizochytrium ยังมีคุณภาพสูง สามารถทำให้มีความบริสุทธิ์จนถึงระดับนำไปใช้ทางโภชนาการ เพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับมนุษย์ได้ ที่สำคัญในประเทศไทยมีสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงไปสู่การผลิต DHA เป็นอุตสาหกรรมเพื่อเลี้ยงลูกกุ้ง หรือผสมกับอาหารกุ้งได้ในปริมาณมาก

ผู้สนใจสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ ดร.วิเชียร ยงมานิตชัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2562-5444 ต่อ 4024

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อบแห้ง 'กระวาน'

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ วานิชชัง แห่งภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตรศาสตร์บางพระ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กระวานอบแห้งด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย ได้ผลิต ภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น มีสีขาวนวลสวยและยังคงคุณค่าทางอาหารและยา

“กระวาน” เป็นพืชล้มลุกมีลำต้น ใต้ดินเรียกว่าเหง้า ออกดอกจากเหง้า ผลกลมติดกันเป็นพวง เปลือกเกลี้ยงเป็นพูมี สีนวล เมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลแก่จำนวน มาก ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร กระวานเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำดี ต้องการความชื้นสูง ที่ร่มรำไรหรือมีต้นไม้ยืนต้นอื่นให้ร่มเงา

กระวานมี 2 พวกใหญ่ ๆ คือ กระวานแท้ หรือ กระวานเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ส่วนอีกพวกคือ กระวานไทย พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถใช้แทนกระวานเทศได้ดี กระวานมีลำต้นเป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน มีข้อประมาณ 8-20 ข้อ กระวานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ก้านใบโค้งมีกาบใบติดกัน ใบออกสลับกันที่โคนต้น ใบมีสีเขียวเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ใบสูงจากพื้นดินประมาณ 2-12 ฟุต ดอกออกเป็นช่ออยู่ใกล้โคนต้นบริเวณผิวดิน กลีบดอกสีเหลือง ออกผลเป็นช่อ ผลกลม ช่อหนึ่ง มีผลประมาณ 10-20 ผล รูปกลม ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 9-18 เมล็ด เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร มีรสเผ็ด

กระวานให้ผลผลิตหลังปลูก 2-3 ปี เก็บผลแก่หลังออกดอกประมาณ 5 เดือนให้ผลผลิตเพียงครั้งเดียวแล้วต้นก็ตายไป หน่อใหม่จะเจริญมาแทนให้ผลผลิตต่อไป การเก็บกระวานต้องเก็บผลแก่จัด มิฉะนั้นเมื่อนำไปทำแห้งผลอาจแตกได้ ควรเก็บเมื่อมีผลแก่จัด 3 ใน 4 ของช่อ ปลิดเอาเฉพาะผลแก่ไปทำแห้งหรือทยอยเก็บเฉพาะผลแก่

การปลูกกระวานควรปลูกเป็นพืชแซมไม้ผล ไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงา การขยายพันธุ์ควรใช้เหง้า ซึ่งเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่นิยมเพราะกระวานจะให้ดอกผลเร็วกว่าการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดปลูก เหง้าที่ใช้เพาะ ปลูกควรแยกออกจากกอแม่ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 18 เดือน ถึง 2 ปี และเหง้าที่แยกออกมาควรมีหน่อ ติดมาด้วยประมาณ 2-3 หน่อ และหน่อที่ใช้ควร มีความสูงประมาณ 1-2.5 ฟุต หลุมปลูกกระวาน ควรมีขนาดกว้างxยาวxลึก ประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 2x2 เมตร ไม่นิยมปลูกชิดมาก ต้องเว้นพื้นที่ว่างไว้ให้หน่อได้ขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ฝังหน่อลึกประมาณ 3-4 นิ้ว รดน้ำให้ความชุ่มชื้น

กระวานเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลรักษามาก ควรกำจัดวัชพืชบ้าง ที่สำคัญควรทำการลิดใบ โดยตัดใบและลำต้นที่แห้งแก่ตายหรือมีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด เพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ปกติกระวานไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนมากนัก นอกจากโรคใบไหม้ซึ่งอาจจะเกิดจากการได้รับแสงแดดมากเกินไป ส่วนศัตรูอื่น ได้แก่ หนู กระรอก และกระแต ซึ่งจะกัดทำลายเมล็ดในระยะรอเก็บเกี่ยว การตัดหน่อกระวานออกจากต้นแม่เพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการติดผลของกระวาน

ผลิตภัณฑ์กระวานเป็นได้ทั้งอาหารและยา สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นกระวานทั้งใบ ลำต้น เหง้าและเมล็ดมาแปรรูปได้ทุกส่วน การผลิตแบบดั้งเดิมมีวิธีการคือ นำกระวานสดไปย่างบนตะแกรงไม้ไผ่ให้รูตะแกรงห่างพอที่จะให้ฝุ่นผงและสิ่งเจือปนหลุดร่วงไปได้ ย่างโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ที่ไม่มีเปลว ประมาณ 24 ชั่วโมงโดยให้หมั่นพลิกกลับหรือผึ่งแดดตอนเช้าประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วเก็บและผึ่งต่อตอนบ่ายอีก 2 ชั่วโมง ประมาณ 5-7 วัน ไม่ควรผึ่งแดดตลอดทั้งวันเพราะจะทำให้คุณภาพของกระวานลดลง

ผศ.ผดุงศักดิ์ ได้ พัฒนาวิธีการอบแบบใหม่ โดยอบเมล็ดกระวานสดในเครื่องอบแบบถังหมุน ใช้เวลาในกาอบประมาณ 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จนเหลือความชื้นเมล็ดใน 12% และเปลือก 10% อบเมล็ดกระวานสด 10 กิโลกรัมจะเหลือกระวานแห้ง 3 กิโลกรัม

สำหรับใบกระวาน อบในตู้อบแห้งใช้เวลา 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ลดความชื้นจาก 85% เหลือ 10% จากน้ำหนัก 700 กิโลกรัมเหลือ 100 กรัม

ส่วนการอบลำต้นในตู้อบใช้เวลา 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ลดความชื้นจาก 91% เหลือ 10% จากน้ำหนัก 1,000 กรัม เหลือ 100 กรัม

สุดท้าย อบเหง้าในตู้อบ ใช้เวลา 5 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ลดความชื้นจาก 92% เหลือ 8% จากน้ำหนัก 1,000 กรัมเหลือ 100 กรัมกระวาน

กระวานจากจังหวัดจันทบุรี ถือว่าเป็นกระวานที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมาก ปริมาณที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ราคาจึงสูงกว่ากระวานจากแหล่งอื่น ๆ โดยทั่วไปจะมีพ่อค้าจากทั้งในเมืองจันทบุรี และพ่อค้าผู้ส่งออกจากกรุงเทพฯ เข้ามารับซื้อกระวานจากเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเกษตรกรจะต้องมีปริมาณกระวานมากพอสมควร คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ถ้าเกษตรกรมีปริมาณกระวานไม่มากนัก ต้องนำไปขายให้แก่พ่อค้าในเมืองเอง ซึ่งเป็นส่วนน้อย เมื่อพ่อค้ารวบรวมได้ปริมาณมากพอแล้วก็ส่งต่อให้กับผู้ส่งออกและ ผู้ผลิตยาอีกทอดหนึ่ง ตลาดต่างประเทศที่รับซื้อกระวานไทยที่สำคัญ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน.

สุโขสโมสร

ปลูกผักเหมียงในสวนยาง รายได้ง่าย ๆ ของ 'ป้าประคอง ลิ่มพิทักษ์'

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดพังงา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค จับมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ทำการศึกษาวิจัยและรวบรวมองค์ความรู้ด้านการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร ภายใต้โครงการศึกษาแนวทางวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์พื้นที่จังหวัดพังงา โดยมี เกษม เพ็ชรสังข์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย วัตถุประสงค์ของโครงการคือ ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ 4 อำเภอ คือ ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง และอำเภอเมืองจังหวัดพังงา ซึ่งผลการศึกษาจากแปลงของเกษตรกร ที่ใช้เป็นกรณีศึกษานั้นพบว่า พังงามีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้พืชตระกูลถั่ว ทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษวัสดุในพื้นที่ ทำน้ำหมักชีวภาพจากปลา พืชผักผลไม้ มีการใช้สารสมุนไพรหมักไล่แมลง

สำหรับในส่วนของแนวทางพัฒนาเกษตร อินทรีย์ในจังหวัดพังงานั้น หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลของกลุ่มเกษตรกรพบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการทำแปลงสาธิตเพื่อเป็นแปลงเรียนรู้ในทุก ๆ หมู่บ้าน เพราะเกษตรกรยังขาดความเชื่อมั่นในการทำเกษตรอินทรีย์ และต้องการให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมช่วยเหลืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ สนับสนุนงบประมาณการทำแก๊สชีวภาพ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยน้ำหมักและลดกลิ่นเหม็น และอยากให้หนุนเสริมการจัดการศึกษาดูงานการทำเกษตรอินทรีย์ของผู้ที่ประสบผลสำเร็จ พร้อมให้ช่วยเหลือด้านการตลาดจำหน่ายผลผลิตด้วย

หนึ่งใน “แปลงสาธิต” ที่เป็นคุณูปการอย่างสูงต่อพี่น้องเกษตรกรชาวจังหวัดพังงา โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกยางพาราเป็นอาชีพหลักคือสวนยางของ ป้าประคอง ลิ่มพิทักษ์ ที่ปลูก ผักเหมียง แซมไว้ระหว่างต้นยาง หรือที่เรียกว่า “ร่องยาง”

สวนของป้าประคอง ลิ่มพิทักษ์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลโคกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ในพื้นที่กว่า 50 ไร่แทบจะไม่มีพื้นที่ว่าง ทุกแห่งจะปลูกแซมด้วยผักเหมียง บางส่วนแบ่งเป็นพื้นที่เพาะกล้ายางขาย และสำหรับผักเหมียงนั้น ป้าประคองเล่าว่า ปลูกมา 20 กว่าปีแล้ว ทำให้มีรายได้เพิ่มและที่สำคัญเป็นการใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

“โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดผักเหมียงได้วันละ ไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท จะมีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท นอกเหนือไปจากรายได้จากการขายยางพารา”

ป้าประคองเล่าว่า การปลูกผักเหมียงไม่มีปัญหาเรื่องศัตรูพืชมารบกวน ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ขณะเดียวกันก็เป็นพืชที่ทดแทนพืชผักที่อยู่ในตลาดได้ ทำให้ชาวบ้านมีทางเลือกในการบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษมากขึ้น ที่สำคัญเป็นผักพื้นบ้านที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง ...สำหรับการเก็บเกี่ยวนั้น ป้าประคองแนะว่า...

“เวลาเก็บก็ควรเก็บให้ชิดข้อ ไม่ควรเก็บกลางข้อเพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนครั้งต่อไปช้า การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่ร่ม พรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บสดอยู่ได้นาน 5-6 วัน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น ยอดและใบอ่อนของผักเหมียงสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ต้มกะทิ แกงเผ็ด แกงไตปลา แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก ผัดพริก ผัดไข่ ผัดน้ำมันหอย แกงจืด หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้”

ในส่วนของการดูแลรักษาต้นเหมียง วิธีการง่าย ๆ ที่ป้าประคองใช้คือ ใช้จอบถากหญ้า เพื่อกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยปีละ 4 ครั้ง โดยวิธีการหว่านทั้งแปลง และหลังจากการเก็บเกี่ยวต้องการตัดแต่งกิ่ง ปีละ 1 ครั้ง

“ฉะนั้น จึงอยากฝากไปยังเพื่อน ๆ เกษตรกรชาวสวนยางให้ปลูกผักเหมียงไว้กิน เหลือจากกินก็นำไปขาย เป็นการเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี” ป้าประคองกล่าวทิ้งท้าย

สูตรปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์...

พืชเติบโตทัดเทียมใช้ปุ๋ยเคมี

การปลูกพืชไม่ใช้ดิน คือการปลูกพืชลงในวัสดุปลูกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ดิน เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดและปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับดินหรือพื้นที่ปลูก โดยการสร้างและควบคุมสภาวะ ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก วัสดุที่ใช้ปลูกอาจใช้ชานอ้อย ขี้เลื่อย แกลบ ขี้เถ้า หิน กรวด แผ่นฟองน้ำ เส้นใยพลาสติก หรือแม้กระทั่งการปลูกในน้ำที่เราเรียกกันว่า การปลูกแบบ “ไฮโดรโปนิกส์” ที่เป็นการปลูกพืชที่ให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำสารละลายธาตุอาหารโดยตรง ซึ่งมีหลายรูปแบบเช่นกัน

ข้อมูลจาก www.wataranyik.com/ บอกไว้ว่า การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าเราจะปลูกพืชชนิดใดปลูกทำไมหรือปลูกเพื่ออะไร จากนั้นจึงเลือกวิธีปลูกและจัดเตรียมอุปกรณ์ ในทางทฤษฎีแล้ววิธีนี้สามารถใช้ปลูกพืชได้ทุกชนิดเนื่องจากวิธีการปลูกพืชแบบนี้เป็นการปลูกพืชโดยเลียนแบบการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติ เพียงแต่วิธีนี้ผู้ปลูกจะต้องจัดหาแร่ธาตุที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตให้แก่พืชซึ่งปกติแล้วพืชจะได้แร่ธาตุเหล่านี้มาจากดินที่ใช้ปลูก หรือบางครั้งได้มาจากปุ๋ยที่ผู้ปลูกเติมหรือใส่ลงไปในดินเมื่อต้องการปลูกพืชหลาย ๆ ครั้งในพื้นที่เดิม ซึ่งถ้าปลูกพืชซ้ำที่บ่อย ๆ แร่ธาตุที่มีอยู่ ในดินก็จะค่อย ๆ หมดไปเนื่องจากพืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแร่ธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม ในการปลูกพืชไม่ใช้ดินจึงต้องหาปัจจัยต่าง ๆ ที่ดินทำหน้า ที่ให้แก่พืชโดยตรงคือ เป็นแหล่งแร่ ธาตุ นอกจากนั้นดินที่ดีที่เหมาะสมจะนำมาใช้ปลูกพืชได้ต้องมีช่องว่างอากาศ มีปริมาณน้ำในดินที่เหมาะสมด้วยจึง จะใช้ปลูกได้ดี โดยทั่วไปในดิน 100 ส่วน ควรมีส่วนประกอบต่าง ๆ คิดเป็น ร้อยละ ดังนี้ แร่ธาตุหรือสารอนินทรีย์ 45% ช่องว่างอากาศในดิน 25% ปริมาณน้ำ 25% สารอินทรีย์ 5%

การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่ายินดีที่ว่าขณะนี้มีการพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพสำหรับปลูกพืชแบบนี้มาหลาย ๆ สูตร

รศ.ดนัย วรรณวนิช จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นอีกหนึ่งที่ได้คิดค้นสูตรปุ๋ยชีวภาพสำหรับการผลิตผักระบบไฮโดรโปนิกส์

“โดยปกติสูตรสารละลายธาตุอาหารทุกสูตรได้มาจากสาร อนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่พืชดูดไปใช้มากที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของไนเตรทอย่างเพียงพอจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม หากพืชได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของไนเตรทมากเกินไปจนใช้ไม่หมด จะเกิดการสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช หากนำพืชนั้นไปบริโภค จะทำให้สารไนเตรทเข้าสู่ร่างกาย และเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้” รศ.ดนัย บอก

ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ศึกษาการใช้สารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ใน การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน โดยได้ใช้น้ำหมักปุ๋ยคอก น้ำหมักมูลค้างคาว น้ำสกัดชีวภาพจากนมสด น้ำหมักซุปเปอร์โบกาฉิ น้ำหมักดินระเบิด น้ำสกัดชีวภาพจากพืช น้ำสกัดชีวภาพจากมูลสัตว์ มาทดลองผสมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 1:3 แล้วพบว่า การใช้น้ำหมักดินระเบิด และน้ำสกัดชีวภาพจากนมสด สามารถทำให้พืชผักมีการเจริญเติบโตทัดเทียมกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว

เห็นได้ชัดเจนเลยว่า การใช้ปุ๋ยสูตร รศ.ดนัยในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย แต่พืชก็เติบโตเสมือนได้รับปุ๋ยเคมี ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีให้สิ้นเปลืองต้นทุนการผลิตและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ผู้ใดสนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-9236-5470

ผักกางมุ้งเพื่อสุขภาพ..ของผู้ปลูกและผู้บริโภค

วสันต์ สุขสุวรรณ แห่งสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองส่งข้อมูลมาให้เป็นเรื่องน่าสนใจมากเพราะเรื่องแบบนี้กำลังเป็นที่สนใจของชาวบ้านทั้งหลายซึ่งเป็นผู้บริโภค มิใช่ว่าจะตื่นตัวเฉพาะผู้บริโภคชาวไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ตื่นตัวกันทั่วโลก ก็เรื่องของการบริโภคอย่างระมัดระวัง มิใช่บริโภคอย่างสะเปะสะปะไม่เลือก แต่ทุกวันนี้ผู้บริโภคเลือกแล้ว เลือกที่จะรักษาสุขภาพของตนเองด้วยการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษหรือปลอดภัยจากสารพิษ

วสันต์ส่งข้อมูลมาว่า นายประกิต ตันโสภณ อายุ 31 ปี ปลูกผักกางมุ้งในเนื้อที่ 3 ไร่ โดยปลูกพืชผักหลายหลากชนิดสามารถส่งตลาดระนองได้ตลอดทั้งปี ก็แสดงว่าเขามีรายได้ตลอดทั้งปีน่ะสินะ โอ้ละหนอ มิใช่ธรรมดานะนี่

สำหรับประกิต จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานที่กรุงเทพฯได้เพียงปีเดียวก็มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและได้รับคำแนะนำให้ดูแลตนเองด้วยวิธีธรรมชาติจึงเดินทางกลับมาที่ระนอง

เขาเล่าว่า เรื่องอาหารการกินโดยเฉพาะพืชผักจำเป็นต้องเป็นผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่พืชผักในท้องตลาดมีสารพิษตกค้างมาก พืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษที่ระนองก็หายาก มีจำหน่ายบ้างแต่ไม่ค่อยจะมั่นใจ นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปลูกผักกางมุ้งเพื่อรับประทานเอง ส่วนที่เหลือนำไปขายเป็นรายได้เพิ่มและเมื่อรับประทานผักปลอดภัยจากสารพิษที่ตนเองปลูกเองกินเองแล้ว สุขภาพก็ดีขึ้นเป็นลำดับจริง ๆ

สำหรับผักที่ปลูกบอกแล้วว่ามีหลายชนิด ปลูกสลับกันไปตามฤดูกาล เช่น คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง โขมจีน ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ตะไคร้ พริก มะระ รวมทั้งผักพื้นบ้านต่าง ๆ ในการปลูก เน้นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างคุ้มค่า สมกับที่จบเศรษฐศาสตร์มาไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า ไม่ปล่อยให้ชีวิตว่างเปล่า ทำให้มีผักรับประทานและจำหน่ายที่ตลาดระนองตลอดทั้งปี มีรายรับตลอดทั้งปี

ส่วนการดูแลผักกางมุ้งประกิตเน้นการเตรียมดิน การปรับปรุงดิน โดยใส่ปูนขาวโดโลไมท์ ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่) เพราะอยู่ใกล้ฟาร์มและใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลา รวมทั้งน้ำหมักสมุนไพรเพื่อใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืชผักด้วย

ผลผลิตจำหน่ายได้ดีทีเดียวก็บอกแล้วไง ทุกวันนี้ผู้คนหันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้นนอกจากจะนำไปจำหน่ายที่ตลาดสะพานยูงทุกวันแล้ว ยังจำหน่ายให้กับกลุ่มคนรักษ์สุขภาพที่สนามกีฬาจังหวัดระนองเป็นประจำ

เขาทำดีขนาดนี้ นายวิรัตน์ สมตน เกษตรจังหวัดระนอง มิรอช้า ได้นำเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดและอำเภอ รวม 47 คน ไปศึกษาดูงานการผลิต การตลาดพร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่ไปขยายผลในพื้นที่อำเภออื่น ๆ ต่อไปเพื่อให้สามารถผลิตพืชผักให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในจังหวัดระนองต่อไป

ผู้สนใจไปดูงานกระบวนการผลิต ไปซื้อผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ 100% ไปได้ที่บ้านเขานางหงส์ หมู่ที่ 5 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ห่างจากตัวจังหวัดระนองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชายแดนไทย-พม่า ตรงกันข้ามกับเกาะสองประเทศพม่า....คนที่จะไปเกาะสองประเทศพม่าก็ลองแวะซื้อผักปลอดสารพิษได้ทั้งขาไป-ขากลับ

เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ คว้ารางวัล วันนักประดิษฐ์ ปี 51

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือต้องการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นในประเทศได้ จึงร่วมมือกันทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของไทย และขยายพื้นที่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำไปยังแหล่งน้ำที่มีศักยภาพทั่วประเทศ โดยพึ่งพาเทคโนโลยีภายในประเทศ ที่ผ่านมาทีมวิจัยสามารถสร้างเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ต้นแบบ และพัฒนาเครื่องให้สามารถใช้ได้จริง โดยมีการติดตั้งและทดสอบการใช้งานที่เขื่อนแม่จาง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง มาแล้วกว่า 1 ปี ซึ่งผลงาน เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กเขื่อนแม่จาง นี้ได้รับ รางวัลชมเชย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา



“เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่มีการพัฒนาและใช้งานในต่างประเทศมีหลายขนาด แต่สำหรับประเทศไทยแหล่งน้ำส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเขื่อนและฝายที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการชลประทานส่วนใหญ่เป็นเขื่อนขนาดเล็ก ทีมวิจัยจึงมุ่งสร้างองค์ความรู้เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กก่อน ซึ่งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กเขื่อนแม่จาง เป็นเครื่องที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องต้นแบบ โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนาเครื่องอยู่ที่การออกแบบรูปร่างของกังหัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ความสูงหัวน้ำ (ความต่างระดับน้ำที่หน้าเขื่อนและท้ายเขื่อน) แตกต่างกัน โดยเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กเขื่อนแม่จางได้พัฒนารูปร่างของกังหันน้ำให้เหมาะกับความสูงหัวน้ำ 13 เมตร และมีกำลังผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 160 กิโลวัตต์ โดยสามารถเดินเครื่องได้ที่ความสูงหัวน้ำต่ำกว่าหรือสูงกว่า 13 เมตรได้ไม่เกิน 10%” นายประโมทย์ ฉมามหัทธนา ผู้ช่วยผู้ว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. กล่าว



ทั้งนี้ องค์ความรู้จากการวิจัย อาทิ การออกแบบรูปร่างกังหันให้เหมาะกับความสูงหัวน้ำ การผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ จะช่วยลด ค่าใช้จ่ายการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กได้มากกว่าครึ่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงจะมีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก โดยมีราคาติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท ต่อ 1 กิโลวัตต์ จากเดิมที่ใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ 60,000-70,000 บาท ต่อ 1 กิโลวัตต์ จึงทำให้การขยายพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งการขยายพื้นที่ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กตามแหล่งน้ำต่าง ๆ สามารถทำได้โดยเริ่มจากเขื่อนชลประทานที่มีการส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนอยู่แล้ว ซึ่งหากมีการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมากขึ้นจะช่วยชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ ได้ อีกทั้งการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำยังมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาเชื้อเพลิงและราคาค่าไฟฟ้า



นายประโมทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึงข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังน้ำว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคง เพราะทำให้ไฟฟ้ามีคุณภาพดี และมีแสงสว่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถรับโหลดไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงมากได้ เช่น หากมีความต้องการไฟฟ้าจำนวนมากในเวลากะทันหัน โรงไฟฟ้าพลังน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าให้ได้ทันทีภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที ซึ่งโรงไฟฟ้าประเภทอื่นไม่สามารถทำได้ ดังนั้น การส่งเสริมให้ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมากขึ้น จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด และเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ลดโลกร้อน ลดการนำเข้าไฟฟ้าและเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี

การเลี้ยงกบในกระชังของผู้ใหญ่บ้านที่มีความพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยราษฎรในทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดพิษณุโลกเช่นเดียวกันที่ราษฎรเดือดร้อนที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในฤดูฝนและใน ฤดูแล้งก็จะพบปัญหาน้ำแล้งมาโดยตลอด ดังนั้นจึงมี พระราชดำริให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและประสานการดำเนินงานในการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยฯ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 และจะสามารถกักเก็บน้ำได้ในช่วงฤดูฝนในปีนี้

นอกจากจะสร้างเขื่อนแล้ว ทางสำนักงาน กปร.ยังจัดให้มีการฝึกอาชีพของราษฎรในพื้นที่รายรอบเขื่อนโดยการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยราชการใน จังหวัดพิษณุโลก อาชีพที่สนับสนุนเหล่านี้ล้วนเป็นอาชีพเสริมรายได้และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ครอบครัวเพื่อให้ประชาชนบริเวณรอบเขื่อนมีอาชีพและรายได้ เสริมเลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง เช่น นายสมพงษ์ อ้นชาวนา อยู่ที่หมู่ 2 บ้านบางกระน้อย ต.นครป่าหมาก อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เขาได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการเฉลิมพระเกียรติ “80 พรรษาปวงประชาสุขศานต์” ซึ่งเป็นผู้น้อมนำ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติจนมีชีวิตที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่เพิ่มรายได้ เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เลี้ยงจิ้งหรีด ปลูกข้าว ปลูกไม้ผล ทำปุ๋ยหมัก เผาถ่าน ทำให้ครอบครัวมีรายได้มั่นคงและมีภูมิคุ้มกันในตัวเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เห็นเขาเลี้ยงกบในกระชังได้ตัวโตมาก... มาก จึงขอคำแนะนำจากเขามาว่าเลี้ยงอย่างไรให้ได้ตัวโตขนาดนั้น เผื่อผู้อ่านจะนำไปเลี้ยงบ้าง อาจจะประสบความสำเร็จเช่นเขา ทอดกบนี่เป็นอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศสเชียวนะ แต่ของเขาไม่รู้สายพันธุ์อะไร นอกจากกบแล้วชาวฝรั่งเศสเขายังนิยมรับประทานหอยทากด้วย อ่านแล้วเชื่อว่าผู้อ่านมีอยู่ 2 ทางเลือกคือ อยากกิน และไม่อยากกิน...

สมพงษ์ อ้นชาวนา บอกว่า การเลี้ยงกบในกระชังมีวิธีการคือต้องนำกระชังลงไปแช่ไว้ในบ่อ โดยการปักเสา 4 เสาแล้วมัดกระชังตัดกับหลักไม้ขอบกระชังสูงจากผิวน้ำประมาณ 1 เมตร แล้วทำแพไม้ไผ่ใส่ในกระชังความกว้าง-ยาวแล้วแต่ขนาดของกระชัง และนำผักบุ้งใส่ลงไปด้วยเอาไว้ให้เป็นที่หลบอาศัยของกบ พอเสร็จแล้วนำลูกกบใส่ลงไปตามขนาดของกระชัง ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปเพราะถ้าใส่ลูกกบลงไปมากจะทำให้กบแน่นกระชัง แล้วกบจะกินกันเองหรือไม่จะกัดกันเกิดแผลและจะตายในที่สุด หรือหากใส่น้อยเกินไปกบจะมีปัญหา คือ กินอาหารไม่ทั่วถึงเพราะว่าเราต้องหว่านอาหารลงในน้ำพื้นที่มันกว้างเกินกว่าที่กบจะว่ายน้ำกินอาหารได้หมด เพราะฉะนั้น เราต้องเน้นความพอประมาณในการเลี้ยงการเลี้ยงอาหารควรให้อาหารแต่พอดี เพราะถ้าให้มากเกินไปจะทำให้น้ำเสียเร็ว แต่ถ้าให้น้อยเกินจะทำให้กบกินไม่อิ่ม เมื่อกินไม่อิ่มมันก็จะกินกันเอง

ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังคือเราไม่ต้องถ่ายน้ำและเศษอาหารที่เหลือก็ยังจมลงไปให้ปลาที่อยู่ในบ่อกินต่อไปอีกด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องปล่อยปลาลงไปในบ่อน้ำนั้นด้วยเพื่อให้ปลาคอยเก็บเศษอาหารกิน

สมพงษ์บอกว่า หากใครยังไม่ขุดบ่อและไม่อยากขุด สามารถทำบ่อเลี้ยงกบง่ายได้ดังนี้เพียงนำดินมาทำเป็นคันล้อมเป็นสี่เหลี่ยมเป็นบ่อทำคันดินกว้าง 50 ซม. สูง 20-30 ซม. โดยเว้นบริเวณบ่อกว้าง 3 คูณ 3 เมตร ปูด้วยผ้ายางในบ่อ ส่วนนอกบ่อล้อมด้วยผ้าลี่สูง 120 ซม. วางท่อระบายน้ำบริเวณพื้นบ่อเพื่อปล่อยน้ำออกบ่อที่ทำ ไม่ควรขุดลงไปเพราะจะปล่อยน้ำยาก ต้องวิดหรือสูบออก แนะนำให้นำดินจากที่อื่นมาทำเป็นคันดินกั้นน้ำและวางท่อจะปล่อยน้ำออกง่าย ทำบ่อเสร็จปล่อยน้ำใส่ลงบ่อให้เต็ม นำผักบุ้งใส่ลงไปในบ่อเอาไว้ให้ลูกกบอาศัย แล้วนำเอาลูกกบใส่ลงในบ่อ 1,000 ตัว จะพอดีกับพื้นที่ 3 คูณ 3 เมตร เลี้ยงด้วยอาหารปลาดุกหรืออาหารกบตามขนาดของตัวกบ แต่ขอแนะนำให้อาหารปลาดุกจะประหยัดต้นทุน ในช่วงที่ลูกกบยังตัวเล็กให้เลี้ยงด้วยหัวอาหาร แต่พอกบโตขึ้นให้ไป เอาหอยเชอรี่ต้มแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้กบกินคู่กับ หัวอาหารหรือให้กินหอยเชอรี่อย่างเดียวก็ได้จะทำให้ประหยัดเป็นอย่างมาก โดยเอากองบนไม้กระดานเป็นกอง ๆ ประเดี๋ยวกบจะมากินเอง แต่แนะนำให้เลี้ยงในช่วงเย็นเพราะกบจะกินในตอนกลางคืนหรือถ้าที่ไหนมีลูกปลาซิวหรือปลากระดี่ ให้ไปช้อนเอามาเป็น ๆ มาใส่ไว้ในบ่อ เดี๋ยวกบจะกินเองจะลดต้นทุนได้เยอะมาก

การนำกบลงบ่อแนะนำให้เอาลูกอ๊อดที่ออกขาหมดแล้ว แต่หางยังไม่หลุด เพราะลูกกบช่วงนี้จะอยู่ในน้ำกำลังจะขึ้นนั่งบนบก ลูกกบจะคุ้นเคยกับบ่อเป็นอย่างดีเพราะมันจะคิดว่าเป็นธรรมชาติไม่กระโดดชนผ้าลี่ แต่ถ้าเอาลูกกบที่กระโดดได้แล้วมันอาจจะกระโดดชนผ้าลี่ตายได้

“เมื่อเราปล่อยลูกกบลงไป 1,000 ตัว จะเหลือกบที่โตแล้วประมาณ 800 ตัว เพราะกบจะกินกันเองหรือตายเอง เราต้องคอยดูว่ามีอะไรเข้าไปกวนกบได้หรือไม่ ถ้าเราปล่อยกบ 1,000 ตัว แล้วเหลือกบ 800 ตัว แล้วเลี้ยง 3 เดือนกบจะโตอยู่ที่ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม รวมแล้วได้กบ 175-200 กก. ถ้าขายโลละ 50 บาทก็ได้ประมาณ 8,500-10,000 บาท”

ข้อแนะนำอีกอย่างจากผู้ใหญ่สมพงษ์ อ้นชาวนา คือต้องคอยให้ยาถ่ายพยาธิอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ถ้ามีปัญหาน้ำเน่าเสียให้ราดด้วยสารน้ำ หมักชีวภาพหรือ อีเอ็ม ตามที่จำหน่ายในท้องตลาด จะช่วยให้เกิดออกซิเจนขึ้น ปัญหาน้ำเน่าจะเกิดน้อยลง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ใหญ่บ้านสมพงษ์ โทร. 08-9437-5924.

สุโขสโมสร